วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ข้อสอบ Take Away(ความเห็น)

ความเห็นของผมครับ ....!
ผมว่า ผลสำรวจที่ออกมามันก็มีส่วนจริงและไม่จริงอยู่บ้าง ผมก็เห็นด้วยนะครับที่ว่าวัยรุ่นไทยใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอันดับต้นๆของเอเชีย เพราะจากสิ่งที่ผมพบอยู่เป็นประจำก็คือ เพื่อนผมคุยโทรศัพท์วันๆ หนึ่งหลายชั่วโมงมาก เเต่ตัวผมส่วนใหญ่จะใช้โทรศัพท์ฟังเพลงมากกว่าการคุย บางคนนะครับอาจใช้เวลาอยู่กับมือถือตลอด 24 ชั่วโมงก็มี เรื่องนี้ผมเคยเจอมากับตัวเลยครับ เเต่ส่่วนใหญ่ผมว่าวัยรุ่นไม่ได้ใช้มือถือสื่อสารกับครอบครัวเป็นหลัก น่าจะเป็นส่วนน้อยมากกว่าเพราะวัยรุ่นมักจะโทรหาเพื่อนหรือแฟนมากกว่าโทรหาครอบครัว อันนี้พิสูจน์ได้ครับ


Mr. Paisan Hoysang
สาขา ไฟฟ้า ปวส.1/1






วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 10


หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ VS หนังสือกระดาษ (2:จบ)


คุยกันก่อน : ในตอนที่แล้ว กำลังกล่าวถึงจุดแข็งและจุดอ่อนบางประการของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มาตอนนี้จะเริ่มจากมุมมองเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต่อ ก่อนที่จะไปถึงมุมมองหนังสือกระดาษ





ความฝันอันสูงสุดของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จะเป็นจริงขึ้นมาได้หรือ ?

ความฝันอันสูงสุดของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่บรรจุหนังสือได้เป็นจำนวนนับล้าน ๆ เล่มจากห้องสมุดหรือร้านขายหนังสือทั่วโลก แล้วก็อ่านง่าย สบายตา ผู้อ่านสามารถค้นหาเรื่องและหน้า หรือตำแหน่งที่ต้องการได้ง่าย มีภาพเคลื่อนไหวที่คมชัด ราบรื่น ไม่สะดุด มีเสียงที่คมชัด ความฝันอันสูงสุดนี้ จะขึ้นอยู่กับพัฒนาการ 2 เรื่องที่ชัดเจนที่สุด คือ (1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทั่วโลก และ (2) เทคโนโลยีด้านตัวฮาร์ดแวร์ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ในส่วนเกี่ยวกับการค้นหาข้อมูลสาระ การแสดงภาพทั้งภาพนิ่งและเคลื่อนไหว และเสียง

สำหรับเรื่องแรก แนวโน้มความเป็นไปได้มีมากพอสมควร ที่เริ่มปรากฏขึ้นมาคือ โทรศัพท์มือถือที่เล่นอินเทอร์เน็ตได้ แต่เส้นทางของพัฒนาการจากโทรศัพท์มือถือที่เล่นอินเทอร์เน็ตได้ ถึงขั้นเชื่อมต่อและเรียกหาหนังสือจากห้องสมุดและร้านหนังสือทั่วโลก ผู้เขียนเชื่อว่า ยังจะต้องการเวลาอีกนานพอสมควร อย่างน้อยประมาณเกือบหนึ่งทศวรรษหรือนานกว่า แต่ก็แน่นอนว่า สามารถจะเกิดขึ้นได้ ถ้ามนุษย์ต้องการจริง ๆ

แล้วมนุษย์จะไม่ต้องการจริง ๆ หรือ ?

ผู้เขียนเชื่อว่า สิ่งที่มนุษย์ต้องการ จะเกิดขึ้นเสมอ แต่จะเกิดขึ้นในระดับเป็นที่แพร่หลายจริง ๆ หรือไม่ มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากกว่าความเป็นไปได้เพียงอย่างเดียว ธรรมชาติของมนุษย์ ก็เกี่ยวข้องด้วย รวมทั้งการลงทุนในเชิงเทคโนโลยี ที่กว่าจะถึงจุดทำกำไรได้ จะต้องมีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาอีกมาก และผลที่ออกมา อาจจะแพงเกินกว่าที่จะเป็นเทคโนโลยีสำหรับคนทั่ว ๆ ไปได้

สำหรับเรื่องที่สอง เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เป็นฮาร์ดแวร์ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่จะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้เขียนเชื่อว่า สามารถจะทำได้ และมีแนวโน้มจะก้าวหน้าไปเร็วกว่าเรื่องแรก

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นเพื่อนกับสภาพแวดล้อมจริงหรือ ?

ตัวอย่างที่มักอ้างกัน คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จะช่วยลดปัญหาการตัดไม้ทำลายระบบนิเวศน์ เพราะหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ต้องใช้กระดาษที่มาจากเยื่อไม้

ข้อดีข้อนี้ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ชัดเจนนัก เพราะอีกมุมหนึ่งของหนังสือกระดาษโต้แย้งได้ว่า ถึงแม้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ต้องใช้กระดาษ แต่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ ต้องใช้คอมพิวเตอร์ชิพ ซึ่งต้องผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ใช้กระบวนการทางเคมี ใช้สารเคมี และเป็นต้นเหตุของปัญหาสภาวะแวดล้อมได้

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จะช่วยแก้ปัญหา ด้านการศึกษาและการอ่านออกเขียนได้ของประชาชนในประเทศยากจนได้อย่างไร ?

มุมมองหนึ่งที่คาดหวังกัน คือ โดยอาศัยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพียงไม่กี่เล่ม ที่เชื่อมต่อกับห้องสมุดต่าง ๆ ทั่วโลกได้ในประเทศ หรือหมู่บ้านที่ยากจนมาก ๆ ที่ขาดแคลนหนังสือกระดาษ คนในประเทศหรือหมู่บ้านที่ยากจนเหล่านั้น ก็สามารถจะอ่านหนังสือดีมีคุณค่าจากห้องสมุดชั้นดีของโลกได้ และจะช่วยเพิ่มอัตราการอ่านออกเขียนได้ของคนในประเทศหรือหมู่บ้านที่ยากจนได้

ความหวังนี้ เป็นความฝันที่สวยหรู ที่มีคนไม่มากนักเชื่อว่า จะเกิดขึ้นได้จริง ๆ จากปัญหาการลงทุนด้านเทคโนโลยี นำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ไปถึงประเทศ หรือหมู่บ้านที่ยากจน และภาษาก็จะเป็นปัญหาอีกด้วย เพราะคนที่ยากจนทั่วโลกเป็นจำนวนมาก อ่าน - เขียนภาษาหลัก ๆ ของโลก ดังเช่น ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ที่เป็นภาษาหลัก ๆ ของหนังสือส่วนใหญ่ทั่วโลกไม่ได้

อย่างไรก็ตาม เมื่อมองโดยภาพรวม สำหรับผู้นิยมชมชอบมุมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ก็จะมั่นใจมากทีเดียวว่า ถึงแม้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์อาจจะแก้ปัญหาสภาวะแวดล้อมไม่ได้จริง ๆ อาจจะแก้ปัญหาด้านการศึกษาและการอ่านออกเขียนได้ของประชาชนในประเทศยากจนไม่ได้จริง ๆ แต่อนาคตของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กำลังมาแรงจริง ๆ และไม่มีอะไรจะไปหยุดยั้งได้ !




คราวนี้ ก็มาถึงมุมของหนังสือกระดาษ !

จริงหรือ หนังสือกระดาษ ไม่มีวันตาย ?

สำหรับคนที่เป็นนักอ่านหนังสือจริง ๆ คนที่รักหนังสือจริง ๆ มั่นใจเช่นนั้น !

เพราะอะไร ?

เพราะหนังสือกระดาษ มีและให้ในสิ่งที่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้ไม่ได้ ดังเช่น ความรู้สึกด้านคุณค่าและความรู้สึกที่พิเศษสำหรับหนังสือแต่ละเล่ม

หนังสือแต่ละเล่มที่เป็นหนังสือกระดาษ มีปกของตนเอง มีขนาดและความหนาของตนเอง หนังสือกระดาษพลิกอ่านได้อย่างที่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้ไม่ได้ เพราะถึงแม้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะสามารถแสดงปกหนังสือที่แตกต่างกันของแต่ละเล่มได้ แต่เมื่อไม่เปิดอ่าน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทุกเล่ม ก็จะเหมือนกันหมด เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ชิ้นหนึ่งที่คล้ายคลึงกันไปหมด

คนรักหนังสือส่วนใหญ่ เมื่อหยิบหนังสือกระดาษแต่ละเล่มขึ้นมา จะมีความรู้สึกเป็นพิเศษกับหนังสือที่อยู่ในมือ ความใหม่ ความเก่า สีของกระดาษ กลิ่นของกระดาษ ล้วนเป็นสิ่งที่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้ไม่ได้

ข้อดีอีกข้อหนึ่งของหนังสือกระดาษ คือ เป็นเพื่อนที่ไว้ใจได้เสมอ เปิดเมื่อไร ก็ได้อ่าน ในขณะที่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า ต้องใช้ถ่านหรือแบตเตอรี่ จึงจะอ่านได้ หมดพลังงานไฟฟ้าเมื่อไร ก็อ่านไม่ได้

สำหรับเรื่องของคุณค่าแห่งการดำเนินชีวิต ในส่วนที่เกี่ยวกับความรีบร้อน เร่งรีบหรือไม่ หนังสือกระดาษจะสามารถสอนคุณค่าแห่งการดำเนินชีวิตในลักษณะดังกล่าวนี้ได้ดี เพราะผู้อ่านไม่ต้องรีบร้อน เปิดอ่าน ในทันทีที่หยิบหนังสือขึ้นมา ไม่เหมือนกับกรณีของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่ผู้อ่าน จำเป็นจะต้องรีบอ่าน มิฉะนั้นก็เสียทั้งเงิน ทั้งพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น

มาถึงข้อสุดท้าย จริงหรือ หนังสือกระดาษ เป็นครูในฝันของนักเรียน ?

ผู้เขียนขอตอบว่า จริง เพราะหนังสือกระดาษ เปรียบได้เป็นครูที่ใจดี ใจเย็น รู้ใจลูกศิษย์เสมอ ไม่ใส่อารมณ์เมื่อลูกศิษย์ทำไม่ได้ดังใจ ๊

ไม่เหมือนกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถ้าเปรียบเป็นครู ก็เป็นครูที่ใจร้อน เร่งให้ลูกศิษย์รีบทำสิ่งที่ควรจะทำ คือการอ่าน และถ้าลูกศิษย์อ่านช้าเกินไป ก็เกิดปัญหา มีคำเตือน หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์รวนขึ้นมาได้ อีกทั้งลูกศิษย์จะรู้สึกเสมอว่า จะต้องรีบอ่าน เพราะ " เวลาแพง " ( เวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ต หรือเวลาที่เป็นอายุของแบตเตอรี่ )


บทสรุปรวบยอดของผู้เขียน สำหรับเรื่องของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ VS. หนังสือกระดาษ เป็นดังนี้ :

ผู้เขียนเชื่อว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กำลังจะมาแรง ยุคของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กำลังจะมาถึงแล้วจริง ๆ แต่หนังสือกระดาษก็จะไม่มีวันตาย

แนวโน้มที่ผู้เขียนเห็น คือ หนังสือกระดาษ จะลดบทบาทลงไปบ้าง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะเข้ามาแทนที่หนังสือกระดาษได้มาก แต่ในอนาคต ผู้เขียนยังมองเห็นหนังสือ กระดาษอยู่เคียงคู่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไปอีกนานแสนนาน !





http://www.pantip.com/cafe/wahkor/article/chaiwat/cwt_bkkbz058.html

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 9

กระดาษหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์เล่มของโลก









รูปที่ท่านเห็นอยู่นี้ คือกระดาษหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์(E-Newspaper) เล่มแรกของโลก
ที่เกิดจากการคิดค้นและร่วมมือกันระหว่าง LG และ Phillips
หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิคส์เล่มนี้ใช้เทคโนโลยีแสดงผลที่เรียกว่า Eink
การเปิดอ่านหน้าต่อไปของหนังสือพิมพ์เล่มนี้ ง่ายๆเพียงแค่คุณนำนิ้วมือไปสัมผัสบนหน้าเท่านั้น
นอกจากนี้หนังสือพิมพ์เล่มนี้ยังสามารถ Download ข่าวสารใหม่ๆบน internet ได้อีกด้วย

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 8

รายชื่อหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย
หนังสือพิมพ์ทั่วไป

รายวัน

รายสามวัน

รายสัปดาห์

หนังสือพิมพ์ธุรกิจ

รายวัน

รายสามวัน

รายสัปดาห์

หนังสือพิมพ์กีฬา

รายวัน

รายสามวัน

  • ซูเปอร์พูล เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายสามวัน เสนอข่าวฟุตบอล และอัตราต่อรอง โดยเฉพาะฟุตบอลยุโรป ในเครือวัฏฏะ เว็บไซต์ซูเปอร์พูล
  • มองอย่างเซียน เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายสามวัน เสนอข่าวฟุตบอล และอัตราต่อรอง โดยเฉพาะฟุตบอลยุโรป ในเครือสยามสปอร์ต

หนังสือพิมพ์บันเทิง

รายวัน

รายสามวัน

หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ

  • Bkkpost logo.gif บางกอกโพสต์ (Bangkok Post) เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษรายวัน จำหน่ายในประเทศไทย ในเครือโพสต์ พับลิชชิง
  • Nation Logo.png เดอะ เนชั่น (The Nation) เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษรายวัน จำหน่ายในประเทศไทย ในเครือเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป
  • DailyXpress Logo.gif เดลี่ เอ็กซ์เพรส (Daily Xpress) เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษรายวัน แจกฟรีพร้อมหนังสือพิมพ์เดอะ เนชั่น และสถานที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร

หนังสือพิมพ์ภาษาจีน

หนังสือพิมพ์ภาษาญี่ปุ่น

หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น

ภาคเหนือ

  • Chiangmainews logo.png เชียงใหม่นิวส์ เป็นหนังสือพิมพ์รายวันของภาคเหนือ
  • Thainews logo.gif ไทยนิวส์ เป็นหนังสือพิมพ์รายวันของภาคเหนือ สำนักงานอยู่ที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ภาคอีสาน

ภาคใต้

  • Focus logo.jpg โฟกัสภาคใต้ เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ของภาคใต้ สำนักงานอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  • Samilatimes logo.jpg สมิหลา ไทมส์ เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ของภาคใต้ สำนักงานอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  • ทางไท เป็นหนังสือพิมพ์รายปักษ์ของภาคใต้ สำนักงานอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  • Siangtai logo.jpg เสียงใต้ เป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายวันของภาคใต้ สำนักงานใหญ่อยู่ที่อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

หนังสือพิมพ์ออนไลน์

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ึ 7

ข้อมูลทั้งหมด ในปี พ.ศ ๒๕๒๗หนังสือพิมพ์รายวันจำหน่ายได้มากที่สุด


หนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวันฉบับเช้าที่มีจำนวนจำหน่ายมากที่สุดในประเทศไทยก็คือหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ปัจจุบันมีจำนวนพิมพ์ถึงวันละ ๘๐๐,๐๐๐ฉบับและพิมพ์วันละ ๖ กรอบ (ในปี ๒๕๒๗)
ปัจจุบันหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซทที่ทันสมัยที่สุดจำนวน ๓๐ ยูนิตพิมพ์ และใช้เรียงพิมพ์ด้วยเครื่องเรียงพิมพ์ระบบคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยที่สุดเช่นกัน
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐมีจำนวนพิมพ์เพียง ๑๑๐,๐๐๐ ฉบับต่อวันเท่านั้น
ต่อมาเมื่อหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเปลี่ยนเครื่องพิมพ์จาก ระบบโรตารีเลตเตอร์เพลส ๓ เครื่องมาเป็นระบบ ออฟเซทสองแถ ๑๔ ยูนิตเมื่อเดืนพฤศจิกายน ๒๔๑๓ มียอดพิมพ์ถึง ๒๐๐,๐๐๐ ฉบับ ครั้งที่เกิดกรณี ๑๔ ตุลาคม ยอดพิมพ์เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๑๖ มีถึง ๓๙๒,๔๔๐ ฉบับ เมื่อวันที่๑๔ ตุลาคม ถึง ๕๔๘,๓๖๐ ฉบับ เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ถึง ๖๘๗,๒๓๐ ฉบับ และเมื่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ถึง ๑,๑๘๑,๔๗๐ ฉบับ เมื่อฉบับวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๔๐ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับแถมพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเทพฯ มียอดพิมพ์ถึง ๑,๒๕๐,๐๐๐ ฉบับ
ก่อนหน้า พ.ศ. ๒๕๐๕ หนังสือพิมพ์รายวันที่มีจำนวนจำหน่ายมากที่สุดก็เพียง ๓ -๔ หมื่น ฉบับเท่านั้น
แต่ก็อาจจะมียอดพิมพ์ขึ้นเมื่อมีข่าวสำคัญๆ เช่นเกิดมีการปฏิวัติรัฐประหารเป็นต้น แต่ก็เพิ่มไม่มาก
ปัจจุบันสำนักงานหรือหนังสือพิมพ์ไทยรัฐตั้งอยู่เลขที่ ๑ ถนนวิภาวดีรังสิต สามเสนใน เขต บางเขน กรุงเทพ ฯ ใกล้กับสถานีขนส่งสายเหนือ (ตลาดหมอชิต)


www.212cafe.com/freeweboard/view.php?user=jubjang&id=18

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 6

พิพิธภัณฑ์หนังสือพิมพ์ไทย
พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บนชั้นสองของอาคาร ชาตรี โสภณพนิช ภายในบริเวณสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย อาจารย์พลาดิสัย สิทธิธัญกิจ ประธานฝ่ายจัดอบรมของสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์หนังสือพิมพ์ไทยแห่งนี้กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษา ค้นคว้าและรวบรวมเอกสารหลักฐานต่างๆ ในวงการวิชาชีพหนังสือพิมพ์ไทย ภายในแบ่งเป็นส่วนจัดแสดงต่าง ๆ ส่วนแรกเรียกว่า ส่วนต้นแบบ ซึ่งหมายถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ท่านทรงเป็นองค์ปฐม เริ่มกิจการทางด้านการพิมพ์ และเป็นบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์ราชกิจจานุเบกษา หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของคนไทย และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ทรงเป็นกษัตริย์นักหนังสือพิมพ์ และพระองค์ทรงออกพระราชบัญญัติเรื่องสมุด หรือเรื่องหนังสือ อีกด้วย บริเวณนี้มีคอมพิวเตอร์ระบบมัลติมีเดียให้ผู้ชมค้นคว้าและเรียนรู้ถึงพระปรีชาสามารถของทั้ง 2 พระองค์ส่วนจัดแสดงต่อมาคือ ห้องหนังสือพิมพ์จำลอง เป็นการจำลองการทำงานของกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ตั้งแต่ผู้สื่อข่าว บรรณาธิการ และช่างเรียงพิมพ์ และอุปกรณ์ที่ใช้ในสมัยนั้นเช่น โต๊ะเก้าอี้ไม้แบบเก่า โต๊ะนักข่าวเป็นโต๊ะที่ใช้รวมสำหรับประชุมข่าวและใช้เขียนข่าว มีหุ่นเท่าคนจริงที่จำลองเป็นผู้ทำหน้าที่เป็นเจ้าของและบรรณาธิการนั่งอยู่กลางห้องจำลองสีหน้าดูเคร่งเครียด และนักข่าวที่กำลังตั้งอกตั้งใจพิมพ์งาน ท่าทางเหมือนจะรีบพิมพ์ข่าวให้ทันปิดเล่มวันนี้ และช่างเรียงพิมพ์ที่กำลังจัดเรียงตัวอักษรทีละตัว ด้านหน้าของห้องจำลองมีคอมพิวเตอร์ระบบมัลติมีเดีย บอกเรื่องราวของหนังสือพิมพ์ไทยในอดีต กองบรรณาธิการ และการทำงานของนักข่าวในอดีต ให้เราได้ศึกษาด้วยตนเองเช่นกันกลางห้องของพิพิธภัณฑ์จัดแสดงหนังสือพิมพ์ L’ILLUSTRATION ค.ศ.1893 ฉบับจริง ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสที่ลงข่าวเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไทย เสด็จประพาสยุโรปผนังอีกด้านแสดงภาพระบบมัลติมีเดีย เสนอข่าวและข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่สำคัญบนจอขนาดใหญ่ให้เห็นได้ชัดเจนถัดมานำเสนอประวัติและผลงานของนักหนังสือพิมพ์คนสำคัญ เช่น ตวส. วรรณาโก (เทียนวรรณ) พระราชวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤติยาลงกรณ์ (น.ม.ส.) พระเจ้าวงวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) ฝั่งตรงข้ามกันเป็น ห้องนิทรรศการหนังสือพิมพ์ไทย ด้านหน้าห้องประดับภาพฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายในห้องนิทรรศการ มีภาพของหนังสือพิมพ์และนิตยสารหัวต่างๆ พร้อมประวัติความเป็นมา ซึ่งผู้สนใจสามารถหยิบยืมชุดนิทรรศการเหล่านี้ไปจัดแสดงได้บริเวณโดยรอบของห้องจัดแสดง ยังมีเครื่องมือผลิตหนังสือพิมพ์ตั้งแต่ดั้งเดิมให้ได้ชม อาทิ เครื่องพิมพ์สองศตวรรษ แท่นพิมพ์รุ่นแรก เครื่องพิมพ์ดีดรุ่นแรก และยังมีเครื่องไมโครฟิล์มให้ค้นคว้าข่าวสารต่าง ๆ จากหนังสือพิมพ์เก่าๆ เช่น หนังสือพิมพ์ศรีกรุง หนังสือพิมพ์ประชาชาติ นอกจากพิพิธภัณฑ์แล้ว บริเวณชั้นเดียวกัน ยังมีห้องสมุดประชาชน ชินโสภณพนิช ให้ค้นคว้า มีห้องโสตทัศนูปกรณ์ เอื้องหลวง นำเสนอวิดีทัศน์เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของหนังสือพิมพ์ไทยก่อนจะเข้าไปชมของจริงในพิพิธภัณฑ์

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ส่ง e-book

http://www.ebook.com/ebooks/Science/Understanding_the_New_Solar_System

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 5

ข้อดี - ข้อเสีย ระหว่างการอ่านข่าวอินเตอร์เน็ตกับหนังสือพิมพ์

การอ่านหนังสือพิมพ์บนอินเตอร์เน็ต
ข้อดี
1. อัพเดทข่าวสาวรวดเร็วทันใจ ทุกเหตุการณ์
2. ประหยัดเงินเพราะไม่ต้องซื้อหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ เดลินิวส์ คม ชัด ลึก เดอะเนชั่น บางกอกโพส์ฯลฯ
3. ไม่เปลืองทรัพยากรธรรมชาติ กระดาษทำมาจากเยื่อต้นไม้ ถือว่าเป็นการช่วยโลกอีกวิธีหนึ่ง
4. มือไม่ติดหมึกเวลาอ่าน เมื่อมือติดหมึกอาจทำให้สารพิษที่เรียกว่าสารหนูเข้าร่างกายได้ ทำให้เกิดโรคอีกตังหาก
5. ง่ายสะดวกสบายแค่ คลิ๊ก.. เท่านั้น
6. เข้าถึงหัวข้อของคนที่อ่านได้โดยตรง เช่น ชอบเศรษฐกิจ หรือ การเมือง เจาะจงได้เลยไม่ต้องเสียเวลาเปิดค้นหาแถมสามารถเซฟได้ด้วยแค่คลิ๊กด้วยปลายนิ้ว ถ้าเกิดชอบบทความนั้นๆ ไม่ต้องยุ่งยากหากระดาษมาจด หรือหา กรรไกรมาตัด

ข้อเสีย
1.บางข่าวใช้เวลาโหลดนาน ไม่ทันใจวัยโจ๋ วุ้ย วุ้ย ยิ่งข่าวยอดฮิตโหลดนาน ทำให้เสียเวลานานในการอ่านหนังสือพิมพ์นานขึ้น
2.เสียค่าไฟแทน ประหยัดทรัพยากรด้านต้นไม้แต่แปรมาเป็นเสียทรัพยากรด้านพลังงานที่แปรมาเป็นค่าไฟ


การอ่านหนังสือพิมพ์
ข้อดี
1.ไม่ต้องใช้เวลาในการโหลด แค่เปิดพลิกๆก็อ่านได้ ไม่เสียเวลา
2.ไม่เปลืองทรัพยากรด้านพลังงานไฟฟ้า
3.ไม่โดนรังสีที่ออกมาจากคอมทำให้มีผลเป็นโรคมะเร็ง หรืออาจทำให้สายตาสั้นลงเร็วขึ้น และความเสี่ยงโรคอื่นๆอีกมากมาย
4.สามารถพกไปอ่านที่ไหนก็ได้ อ่านไม่จบก็พับเก็บไว้ก่อนแล้วเอาติดตัวไปด้วย จากนั้นค่อยอ่านใหม่

ข้อเสีย
1. เปลืองเงิน ถ้าจะอ่านข่าว ธุรกิจรายวัน เดอะเนชั่น และ ไทยรัฐ ต้องเสียเงินซื้อทั้งสามเล่มเลยทีเดียว ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
2. เปลืองทรัพยากรธรรมชาติ เพราะว่าซื้อมากๆนั้น ทางโรงก็สั่งพิมมากขึ้นทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่ามากขึ้น
3. บ้านรกอ่านทุกวันๆ เก็บมันไม่ได้เอาไปทิ้งเป็นประจำ
4. การที่เราชอบหัวข้อไหนก็คลิ๊กได้เลยตรงหัวข้อนั้นๆ ทำให้เราไม่ได้สนใจอย่างอื่นและไม่ได้เข้าไปดู กลายเป็นว่ารู้ไม่ครอบคลุมแต่รู้เจาะจง เช่น ชอบดาราบันเทิง ก็จะรู้แต่เรื่องนั้น แต่ถ้าถากมีหนังสือพิมพ์ หัวข้อข่าวสามารถดึงดูดเราให้เราอ่านคอลัมน์อื่นๆได้


http://aryanjija.spaces.live.com/blog/cns!616DFB2844AEB167!355.entry

วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4

ศตวรรษที่ 18 ศตวรษของหนังสือพิมพ์ในอังกฤษ (ต่อและจบ)

ศตวรรษที่ 18 เป็นยุคของความรอบรู้ (Age of Enlightenment) ปรัชญาเมธีจำนวนมากเผยแพร่ความคิดของตนในสิ่งพิมพ์ คนมีการศึกษาสูงขึ้นและฉลาดขึ้นกว่าในศตวรรษก่อนๆ ปี 1738 เริ่มการปฏิวัติอุตสาหกรรม เครื่องพิมพ์ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น จากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมา ทำให้การหนังสือพิมพ์เริ่มวางรากฐานมั่นคงขึ้นทั้งในด้านทุนผลิต คณะผู้จัดทำ การจัดจำหน่าย การสื่อข่าว การเขียนข่าวและสารคดี ตลอดจนความนิยมของผู้อ่านที่มีต่อหนังสือพิมพ์มากขึ้นอย่างไม่มีทีท่าว่าจะลดลง
มีข้อที่น่าสังเกต คือ แม้ผู้อ่านจะยอมรับหนังสือพิมพ์มากขึ้นและหนังสือพิมพ์มีอิทธิพลทางการเมือง แต่หลังจากยุคของแอดิสัน สวิฟท์ สตีล นักหนังสือพิมพ์กลับตกต่ำลงในด้านการยอมรับของสังคม ดอคเตอร์จอห์นสัน เขียนบทความลงใน London Chronicle ปี 1757 โจมตีนักหนังสือพิมพ์ที่ขายตัวเอง “ให้แก่บุคคลหรือพรรค…….ไม่มีความปรารถนาเพื่อสัจจะ หรือความคิดที่ดีงาม ไม่สนใจในการเสื่อมเสียชื่อเสียงของบุคคลอื่นมากกว่าการผูกตัวเองเข้ากับผลประโยชน์” ปี 1777 ระหว่างการสอบสวนคดีปลอมเอกสารของท่านสาธุคุณ William Dodd มีการพูดกันในศาลเพื่อยืนยันความผิดของจำเลยว่า “เขาจมต่ำในความเลวอย่างถึงขนาด พอๆ กับบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ทีเดียว” ความเสียหายของหนังสือพิมพ์ในศตวรรษนี้ขึ้นอยู่กับชื่อเสียงในการรับสินบน บรรณาธิการสามารถรับจ้างเขียนโจมตีศัตรูของใครก็ได้ในอัตราค่าโฆษณา
สาเหตุที่เป็นดังนี้พอจะพิจารณาได้หลายแง่ เช่น นอกจากนักหนังสือพิมพ์ที่โด่งดังมากๆ 5-6 คนแล้ว มีนักหนังสือพิมพ์เป็นจำนวนมากที่มีการศึกษาและประสบการณ์เพียงครึ่งๆ กลางๆ ในเวลานั้นงานหนังสือพิมพ์เพิ่งจะเป็นอาชีพใหม่ นักหนังสือพิมพ์ที่จะยึดมั่นในอุดมการณ์ทางวิชาชีพจึงมีไม่มากนัก เป็นการฉุดดึงฐานะของอาชีพนี้ให้ตกต่ำ แต่ถึงแม้ว่าจะมีจุดบอดดังนี้ แต่หนังสือพิมพ์สมัยศตวรรษที่ 18 ก็ยังสามารถสร้างอิทธิพลทางการเมือง และมีอนาคตที่สดใสมากขึ้นในสมัยต่อมา
ศตวรรษที่ 18 มีการควบคุมหนังสือพิมพ์โดยการตั้งผู้ตรวจตราหนังสือพิมพ์ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่กว้างขวาง เช่น พระเจ้าเจมส์ที่ 2 ทรงแต่งตั้งเซอร์ โรเจอร์ เลสตรองนจ์ (Sir Roger L’Estrange) ให้ดำรงตำแหน่งนี้ บุคคลผู้นี้มองข่าวหนังสือพิมพ์ด้วยความแคลงใจว่า มันทำให้ประชาชนคุ้นเคยและใกล้ชิดกับพฤติกรรมของผู้ปกครองมากเกินไป และการที่เขาได้รับแต่งตั้งสู่ตำแหน่งนี้ก็เหมาะการตีพิมพ์ข้อเสนอให้ควบคุมสิ่งพิมพ์ ชื่อว่า “Confederations and Proposals in order to the Regulation of the Press” กษัตริย์ในราชวงศ์สจ๊วตเป็นผู้ตั้งข้อกล่าวหา เป็นผู้แต่งตั้งตุลาการ และจัดหาพยานหลักฐานในกรณีที่เห็นว่าผู้ใดมีความผิดฐานยุยงให้เกิดความกระด้างกระเดื่อง
ค.ศ. 1712 รัฐบาลออกภาษีแสตมป์ (Stamp Act) เพื่อควบคุมการผลิตและจำนวนจำหน่าย ซึ่งในขณะเดียวกันรัฐก็ได้ผลประโยชน์ไปด้วย เจ้าของหนังสือพิมพ์ต้องจ่าย 1 เพนนีต่อกระดาษ 1 แผ่น บวกกับอีก 1 ชิลลิง สำหรับโฆษณาแต่ละชิ้นที่ลงพิมพ์ จำนวนเงินที่ต้องจ่ายนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้กฎหมายฉบับหลังๆ ที่ออกตามมาจนถึงปี 1836 ซึ่งภาษีเหล่านี้ได้ลดลงได้มีความพยายามจะเลี่ยงกฎหมายปี 1712 เช่น ตีพิมพ์เพียงหนึ่งหน้าครึ่ง และบอกว่าเป็นจุลสารด้วยวิธีนี้จะถูกหักภาษีเท่ากับ 1 หน้ากระดาษ ไม่ว่าจะมีจำนวนจำหน่ายเท่าใด และค่าภาษีก็ต่ำลงมาเพียง 2 ชิลลิงต่อ 1 หน้า อย่างไรก็ตาม การเพิ่มหนังสือพิมพ์เท่ากับต้องเสียภาษีเพิ่ม เท่ากับเป็นการจำกัดจำนวนและเนื้อข่าวหนังสือพิมพ์มีราคาแพงขึ้นทำให้จำนวนจำหน่ายต่ำ เป็นสิ่งที่ขัดขวางความเจริญของหนังสือพิมพ์ที่แสวงหาผู้อ่านเป็นอย่างมาก เพราะมีผู้อ่านจำนวนมากที่เข้าอ่านที่ร้านกาแฟหรือร้านเหล้า หรืออ่านฟรีตามที่อ่านหนังสือพิมพ์
“เหยี่ยว” ซึ่งขายหนังสือพิมพ์ข้างถนน (และหลายคนธุรกิจเฟื่องฟูถึงขนาดควบคุมการจัดจำหน่ายหนังสือ พิมพ์รายวันจำนวนหลายพันในกรุงลอนดอน) และช่างพิมพ์เป็นผู้รับผิดชอบ หากมีการออกหนังสือพิมพ์เถื่อนที่หนีภาษี โทษของ “เหยี่ยว” คือ จำคุกราว 3 เดือน ช่างพิมพ์มีโทษจำหรือปรับ การควบคุมของรัฐบาลไม่ได้ยุติเพียงเท่านี้ เลขาธิการยังมีคนทั่วไปในอังกฤษและสก๊อตแลนด์ให้คอยส่งรายงานเกี่ยวกับเนื้อหาหนังสือพิมพ์ เช่น มีการจ้าง Nicholas Paston ในปี 1722 ในราคา 200 ปอนด์ต่อปี ให้คอยตรวจสอบเนื้อหาหนังสือพิมพ์ และเป็นกึ่งๆ ผู้เซ็นเซอร์ ซึ่งวิธีการนี้รัฐบาลจะรู้ตัวล่วงหน้า หากมีความพยายามจะก่อกวนราชบัลลังก์คนข่าวของกษัตริย์มีเสรีอย่างยิ่งที่จะออกค้นจับกุม ยึดสมบัติในโรงพิมพ์ รื้อแท่นพิมพ์ จับช่างพิมพ์ และลูกจ้างเข้าคุก และคิดค่าประกันตัวหลายร้อยปอนด์ การสอบสวนอาจเนิ่นไปเป็นเดือนๆ หรือเป็นปี ซึ่งโทษอาจจะหมายถึงการเข้าชื่อค่าปรับและจำคุก สิ่งที่น่าแปลก คือ การตัดสินจากคณะลูกขุนเป็นไปอย่างล่าช้าตลอดศตวรรษที่ 18 ลัทธิอำนาจนิยมเป็นฝ่ายล่าถอย
วิธีการควบคุมของรัฐโดยทั่วไปได้ผลน้อยลงทุกที จึงมีการใช้วิธีใหม่ คือ การใช้เงินของแผ่นดินไปกว้านซื้อ หรือให้ความสนับสนุนแก่หนังสือพิมพ์เอกชน ในระยะเวลาอันยาวนานที่วอลโปล (Robert Walpol 1676-1745) ครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของอังกฤษ รัฐบาลใช้วิธีเอาเงินซื้อนักเขียนบทวิจารณ์การเมือง และหนังสือพิมพ์ก็มีข้อผูกพันกับรัฐบาลโดยใช้เงินราชการลับ นอกจากนี้บรรดาบรรณาธิการฝ่ายค้านก็มักถูกข่มขู่สลับกันไปกับการให้สินบนล่อใจ
ศตวรรษที่ 18 เป็นช่วงเวลาที่ชาวอเมริกันในโลกใหม่กำลังเรียกหาเสรีภาพ การเรียกร้องนี้ข้ามแดนไปถึงยุโรปและเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการปฏิวัติในฝรั่งเศสในปี 1789 นับแต่ปี 1750 เป็นต้นมา คนอย่างวอลแตร์ รุสโซ ดิเดโรต์ เรียกร้องเสรีภาพทางการพิมพ์ Encyclopedia ประกาศว่า “ประเทศใดก็ตามที่พลเมืองไม่อาจคิดและเขียนความคิดของตนออกมาได้ ประเทศนั้นย่อมตกลงไปในหุบเหวแห่งความโง่เขลาเบาปัญญา ความงมงายและความป่าเถื่อน” ยุโรปก้าวเข้าสู่ยุคแห่งเหตุผล (Age of Enlightenment) การต่อสู้เพื่อเสรีภาพทางการพิมพ์ในลอนดอนเริ่มขึ้นใน Daily Advertiser ในคอลัมน์ชื่อ “จดหมายของจูเนียส” (Letters of Junius) โจมตีรัฐบาล เรื่องการอนุญาตให้นักข่าวเข้าสังเกตการณ์รัฐสภา2 ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่สิบแปด มีวิวัฒนาการสำคัญสามประการซึ่งเป็นอุปสรรคทำให้การดำเนินคดีในความผิดฐานยุยงให้เกิดความกระด้างกระเดื่องยากลำบากยิ่งขึ้น คือความเสื่อมของลัทธิอำนาจนิยม การเพิ่มบทบาทของพรรคการเมืองและการแพร่ขยายของลัทธิประชาธิปไตย แม้การจับกุมและดำเนินคดียังมีอยู่แต่คณะลูกขุน (Juries) มักไม่ยินยอมคล้ายตามและปฏิเสธที่จะลงโทษผู้ถูกกล่าวหาดังกล่าว





ในปี 1785 จอห์น วอลเตอร์ (John Walter) ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ Daily Universal Register ซึ่งต่อมาคือ The Times อันเลื่องชื่อของอังกฤษ การหนังสือพิมพ์ในอังกฤษค่อยๆ เคลื่อนย้ายเข้าสู่ศตวรรษที่ 19 ด้วยรากฐานที่มั่นคงพอสมควรสำหรับยุคใหม่ของหนังสือพิมพ์เพื่อมวลชน (Press for the Mass) ชื่อหนังสือพิมพ์จะถูกนำมาใช้สร้างประชามติ และเข้ามามีอิทธิพลทางการค้ามากขึ้นพร้อมด้วยวิวัฒนาการทางเครื่องจักร ในปี 1820 อังกฤษมีห้องอ่านหนังสือพิมพ์ทั่วประเทศปี 1840 หนังสือพิมพ์ประกาศตนเป็นอิสระจากรัฐบาล เป็นตัวแทนประชามติให้ข้อมูลประชาชนหรือการตัดสินใจทางการเมือง Times เป็นตัวนำในการกู้ฐานะฐานันดร 4 ให้กลับคืนมา หนังสือพิมพ์อังกฤษในต้นศตวรรษที่ 19 มีทั้งความชำนาญ ความซื่อตรงต่ออาชีพและการอุทิศตนต่อสังคม ไม่มีใครซื้อคนหนังสือพิมพ์ได้อีกต่อไปปี 1850 เกิดหนังสือพิมพ์ราคาถูกฉบับแรก (penny papers) ชื่อ Daily Telegraph และในปี 1880 อังกฤษก็แปรโฉมหนังสือพิมพ์ไปสู่ยุคใหม่ ซึ่งเป็นยุคของการแสดงความคิดเห็นและยุคของอุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์ ทางหนังสือพิมพ์ไปสู่อิทธิพลอันยิ่งใหญ่ของฐานันดร 4 ในศตวรรษที่ 20






http://www.oknation.net/blog/print.php?id=53231

วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 3

ประวัติหนังสือพิมพ์


บทความน่ารู้ : เรื่องประวัติหนังสือพิมพ์
ที่นี่คือศูนย์รวมบทความที่น่าสนใจและให้ความรู้จากทุกมุมโลก เพื่อเป็นแหล่งความรู้สำหรับคนไทยทุกคน

หนังสือพิมพ์

หนังสือพิมพ์ คือ สิ่งพิมพ์ที่เสนอข่าว การเคลื่อนไหวใหม่ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ มีกำหนดการออกที่แน่นอนตายตัว โดยส่วนใหญ่จะออกเป็นรายวัน นอกจากนี้แล้วยังมีหนังสือพิมพ์รายสามวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์ และรายเดือน หนังสือพิมพ์มักจะพิมพ์ลงในกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์โดยเฉพาะ ซึ่งมีราคาถูก

เนื้อหาหลักของหนังสือพิมพ์คือข่าวสารบ้านเมืองและเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านต่างๆ อาทิ ข่าวการเมือง ข่าวอาชญากรรม ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวกีฬา และข่าวบันเทิง มีการใช้รูปภาพประกอบเนื้อหา ทำให้เนื้อหาชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้แล้วอาจมีส่วนต่างๆ เพิ่มเติมเป็นพิเศษ เช่น พยากรณ์อากาศ และ การ์ตูน ซึ่งโดยทั่วไปเป็นการ์ตูนล้อเลียนการเมือง

ประวัติ

ประมาณ 60 ปีก่อนคริสต์ศักราช ยุคอาณาจักรโรมันที่อารยธรรมเจริญยิ่ง จักรพรรดิจูเลียสซีซาร์บัญชาให้อาลักษณ์คัดลอกแถลงการณ์ของพระองค์ รวมถึงข่าวประจำวันของราชการ แล้วนำไปปิดไว้ตามกำแพงในที่ชุมชนเพื่อประชาชนได้อ่านทั่วถึง ใบประกาศนั้นเรียก "แอ็กตา ดิอูนา" (Acta diuna) นับว่าเป็นต้นแบบหนังสือพิมพ์ ขณะที่ทางตะวันออก ในประเทศจีนก็ได้กำเนิดหนังสือพิมพ์ ซิงเป่า (Tsing Pao) ตีพิมพ์เรื่องราวเกี่ยวกับราชการสำนักมาตั้งแต่ พ.ศ. 1043

จากแผ่นประกาศข่าว วิวัฒนาการเป็นจดหมายข่าว และหนังสือข่าว รายงานข่าวสารทางการค้า การเมือง แล้วพัฒนาเป็นหนังสือพิมพ์ซึ่งเกิดขึ้นหลังจาก พ.ศ. 1997 ที่ โจฮัน กูเต็นเบิร์ก ชาวเยอรมัน ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์และตัวพิมพ์ขึ้น และวิลเลียมส์ แซกส์ตัน นำเครื่องพิมพ์ไปใช้ในประเทศอังกฤษ

การพัฒนาแท่นพิมพ์ดีขึ้นเป็นลำดับ ที่สุดหนังสือพิมพ์ฉบับแรกก็เกิดขึ้น คือ Avisa Relation Order Zeitung พิมพ์ขึ้นในประเทศเยอรมนีเมื่อ พ.ศ. 2152 แต่ไม่ใช่หนังสือพิมพ์รายวัน กระทั่ง พ.ศ. 2165 อังกฤษรวบรวมข่าวรายวันมาพิมพ์ออกจำหน่ายเป็นรายสัปดาห์ ในชื่อ A Weekly News London ถือเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของโลก โดยเสนอข่าวที่เกิดขึ้นในภูมิภาคยุโรป เป็นของใหม่ที่ได้รับความสนใจมากพอควร แต่ออกเป็นรายสัปดาห์ ต่อมา ได้มีผู้ริเริ่มออกหนังสือพิมพ์เป็นรายวันคนแรกของโลกคือ เอ็ดวาร์ด มอลเลต หนังสือชื่อ The Daily Courant ฉบับแรกออกเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2245 เปิดโลกใหม่ด้วยการเสนอบทความ บทวิจารณ์สังคม คอลัมนิสต์ชื่อดังคือ ดาเนียล เดอโฟ

บทวิจารณ์เขาโจมตีรัฐบาลและวิธีการปฏิบัติศาสนกิจของคริสต์ ถูกใจประชาชน แต่เป็นที่ขัดใจของกษัตริย์และพระสันตะปาปา เขาถูกจับตัวคุมขัง แต่มีเพื่อนดีจัดหาอุปกรณ์เครื่องเขียนให้ เดอโฟจึงคิดออกหนังสือพิมพ์ วิธีการคือเขาเป็นผู้เขียนข่าวหรือบทความจากข้อเท็จจริงที่เพื่อนส่งมาให้จากภายนอก เสร็จแล้วส่งออกไปพิมพ์ นั่นเป็นจุดกำเนิดของหลักการ "เขียนข่าวใหม่" หรือเรียบเรียงข่าว หรือ Rewriting

ส่วนในสหรัฐอเมริกาหนังสือพิมพ์รายวันฉบับแรกออกเมื่อ พ.ศ. 2326 ชื่อ 'Pennsylvania Evening post and Daily Advertiser

หนังสือพิมพ์ในประเทศไทย

เดลินิวส์วิวัฒนาการของหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีกลุ่มมิชชันนารีอเมริกันเป็นเจ้าของและบรรณาธิการ ซึ่งหมอบรัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์ข่าวรายปักษ์เล่มแรกของไทย ชื่อ "บางกอกรีคอร์เดอร์" พิมพ์ด้วยภาษาไทยและอังกฤษ แต่มีอายุได้ไม่ถึง 2 ปีก็ต้องปิดกิจการลง

หลังจากนั้นก็มีหนังสือพิมพ์ออกมาอีกหลายฉบับ ทั้งรายสัปดาห์ รายปักษ์ และรายปี อาทิ หนังสือพิมพ์บางกอกคาเลนดาร์ ต่อมาพัฒนาเป็นหนังสือพิมพ์รายวัน เช่น Bangkok Daily Advertiser และ Siam Daily Advertiser

ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นผู้จัดทำหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ชื่อ "ราชกิจจานุเบกษา" เพื่อชี้แจงข่าวคลาดเคลื่อนที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ และเพื่อแจ้งข่าวการบริหารพระราชภารกิจทางการเมือง

ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรกที่เผยแพร่สู่ประชาชน ชื่อ "ดรุโณวาท" ในยุคนี้วงการหนังสือพิมพ์ตื่นตัวมากโดยมีการออกหนังสือพิมพ์ถึง 59 ฉบับ

สมัยรัชกาลที่ 6 กิจการหนังสือพิมพ์ก้าวหน้ามาก ต่อเนื่องมาถึงรัชกาลที่ 7 มีหนังสือพิมพ์ 55 ฉบับ โดยมีหนังสือที่มีชื่อเสียงและน่าเชื่อถือที่สุด คือ "หนังสือพิมพ์ประชาชาติ" ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่มีอิทธิพลต่อผู้อ่านมาก โดยเฉพาะปัญญาชนที่ตื่นตัวทางการเมืองเศรษฐกิจและสังคม

สมัยรัชกาลที่ 8 ต่อเนื่องรัชกาลปัจจุบัน หนังสือพิมพ์เริ่มถูกควบคุมโดยรัฐบาล และเมื่อปี 2501 เกิดรัฐประหาร นำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หนังสือพิมพ์ตกไปอยู่ภายใต้การควบคุมของประกาศคณะปฏิวัติ ในยุคนี้มีหนังสือพิมพ์ 31 ฉบับ เช่น หนังสือพิมพ์เกียรติศักดิ์ (2495-2513) เดลินิวส์ (2507-ปัจุจบัน) เดลิเมย์ (2493-2501) ไทยรัฐ (2492-ปัจจุบัน) ไทยเดลี่ (2512) แนวหน้า (2495-2506) ประชาธิปไตย (2502) พิมพ์ไทย (2489) สยามนิกร (2481-2512) สารเสรี (2497-2508) สยามรัฐ (2493) เสียงอ่างทอง (2500-2507) และหนังสือพิมพ์อณาจักรไทย (2501-2504) เป็นต้น



ที่มา http://www.thaibizcenter.com/KnowledgeCenter.asp?kid=177

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2




นิวเซียมพิพิธภัณฑ์หนังสือพิมพ์

คอลัมน์ แกะรอยต่างแดนโดย ศรีสกุล ลีลาพีระพันธ์ต่อจากนี้ ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับวงการสื่อสารมวลชนจะมีที่เก็บเป็นเรื่องเป็นราวและใหญ่โต ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมืองหลวงของสหรัฐอเมริกา ในชื่อว่า นิวเซียม (Newseum) ประมาณว่ามาจากคำว่า News บวกกับคำว่า Museum กลายเป็นนิวเซียม ที่กำลังจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 เมษายนนี้แล้ว ต้อนรับช่วงฤดูใบไม้ผลิของสหรัฐพิพิธภัณฑ์นิวเซียมนี้ ก่อตั้งขึ้นโดยองค์กรฟรีด้อม ฟอรั่ม เป็นพิพิธภัณฑ์สำหรับรวบรวมเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ด้านการข่าวที่ยาวนานกว่า 150 เอาไว้ให้ผู้คนได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารมวลชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันผ่านสื่อต่างๆ ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เดิมเคยมีนิวเซียมมาแล้วที่เมืองอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย แต่ได้ปิดไปเมื่อปี 2002 ซึ่งตอนนั้นเปิดให้ประชาชนได้เข้าชมฟรี ก่อนที่ฟรีด้อม ฟอรั่ม จะคิดสร้างนิวเซียมขึ้นใหม่ให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิม เรียกว่าใกล้เคียงกับสมิธโซเนียนกันเลยทีเดียวแล้วก็ได้ดั่งใจ เมื่อนิวเซียมแห่งใหม่ถูกสร้างขึ้นบนถนนเพนซิลเวเนีย ในกรุงวอชิงตัน บนเนื้อที่ 2,323 ตารางเมตร มูลค่ารวม 450 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในวันเปิดจะให้ผู้ชมเข้าชมฟรี แต่หลังจากนั้นจะคิดเงินค่าเข้าสำหรับผู้ใหญ่หัวละ 20 ดอลลาร์ ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 7 ขวบเข้าฟรี ซึ่งถือว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เสียเงินเข้าชมแห่งล่าสุดในวอชิงตัน ในขณะที่หลายๆ พิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจในเมืองหลวงของสหรัฐแห่งนี้เปิดให้ผู้คนเข้าดูกันฟรีๆ !!ภายในนิวเซียมจะมีโรงหนัง 15 โรง ห้องแสดงภาพขนาดใหญ่อีก 14 ห้อง และห้องส่งอีก 2 ห้อง นอกจากนี้ยังมีตู้คีออสก์สำหรับให้ผู้เข้าชมได้สวมบทบาทการเป็นนักข่าวได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นช่างภาพ บรรณาธิการ ผู้สื่อข่าวหรือผู้ประกาศข่าวชาร์ลส์ แอล.โอเวอร์บี ผู้บริหารของนิวเซียม กล่าวว่า เป้าหมายของการสร้างพิพิธภัณฑ์นี้ขึ้นมาก็เพื่อต้องการให้ผู้คนได้เรียนรู้เกี่ยวกับเสรีภาพของสื่อ รวมทั้งสร้างความสนุกสนานและเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนที่มาเข้าชมได้เข้าถึงคำว่า สื่อสารมวลชน อย่างแท้จริง


The Newseum will open its $450 million, seven-level museum in downtown D.C. on April 11.


The opening date originally was scheduled for Oct. 15, 2007, but was pushed back because construction took longer than expected.


The museum, at Pennsylvania Avenue and Sixth Street NW, will offer free admission on opening day, which will include a live broadcast on ABC's "Good Morning America." Special activities will take place throughout opening weekend.


More than six years in the planning, the Newseum features 14 galleries that tell the story of news, as well as a 40-by-22-foot high-definition media screen where breaking news, historic news events and documentaries will be shown.


The building includes a conference center, museum store and more than 140,000 square feet of residential apartments, as well as The Source, a restaurant by celebrity chef Wolfgang Puck.


After opening day, admission to the museum will cost $20 for adults, $18 for seniors and $13 for youths 7 to 12.

คลิกเลยคาฟ "Newseum Sets Opening Date" ขอบคุณ

วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1


สิ้นสุดยุค"หนังสือพิมพ์"กระดาษ?

ทั้งนี้นิวยอร์กไทมส์ยังได้ตกลงเป็นหนึ่งในพันธมิตรรายแรกๆ ที่จะเผยแพร่สิ่งพิมพ์ของตนเองบนเครื่องอ่านอีบุ๊กรุ่นใหม่ของ Amazon ด้วย ซึ่งในเวลาไล่เรี่ยกัน หนังสือพิมพ์วอลสตรีทเจอนัลก็ได้เผยแพร่ข่าวของคู่แข่ง และจุดอ่อนของเครื่องอ่านอีบุ๊กของ Amazon นั่นหมายความว่า มันจะมีอุปกรณ์ประเภทนี้ออกมามากมาย ทำให้หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น และช่วยให้อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ข่าวสารสามารถยืนหยัดต่อไปได้

เครื่องอ่านอิเล็กทรอนิกส์เป็นสิ่งที่บรรดาหนังสือพิมพ์ทราบดีว่า อย่างไรก็ต้องเดินต่อไปในทางนี้ เนื่องจากกระดาษไม่ใช่คำตอบสำหรับการดำเนินธุรกิจ แม้ผู้คนส่วนใหญ่จะชอบการพลิกหน้าหนังสือที่เป็นกระดาษก็ตาม ในขณะที่โลกออนไลน์ มันเป็นเรื่องของโฆษณา แต่สำนักพิมพ์ส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการมีรายได้จากสมาชิกด้วย ดังนั้น เครื่องอ่านอีบุ๊กอย่าง Kindle จะตอบโจทย์การรับสมัครสมาชิกหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ดีกว่าออนไลน์ ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่เคยคิดว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายสำหรับการอ่านคอนเท็นต์บนนั้น และจะรู้สึกไม่พอใจที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อจะได้อ่านแมกะซีนออนไลน์

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญในวงการบางท่านแสดงความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า มันอาจจะเร็วเกินไป หรือไม่ที่จะเปลียนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคด้วยอุปกรณ์พาพาดังกล่าว เพราะความจริง Kindle เป็นเครื่องอ่านอีบุ๊กที่ออกมาขัดตาทัพเทคโนโลยีอีเปเปอร์แบบม้วนได้ ซึ่งให้ความสะดวกในการพกพามากกว่า ในขณะเดียวกันยังใกล้เคียงกับสื่อแบบเดิมอีกด้วย แต่ถ้าจะรอให้ถึงวันนั้น บางทีมันอาจจะสายเกินไป งานนี้คงต้องรอดูว่า ความหวังของบรรดาหนังสือพิมพ์จะเป็นจริง หรือไม่? ผู้บริโภคจะยอมรับกับอุปกรณ์พกพาที่ออกมาทดแทนความคุ้นเคยเดิมๆ ได้ หรือเปล่า?

Update: ล่าสุดมีการอ้างว่า ภาพถ่ายข้างล่างนี้เป็นพรีเซนเทชั่นของ Amazon Kindle DX เครื่องอ่านอีบุ๊กรุ่นใหม่ที่มีหน้าจอใหญ่ 9.7 นิ้ว (Kindle 2 จะมีขนาดหน้าจอแค่ 6 นิ้วเท่านั้น) เหมาะกับการอ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ตลอดจนหนังสือตำราเรียน