วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ข้อสอบ Take Away(ความเห็น)

ความเห็นของผมครับ ....!
ผมว่า ผลสำรวจที่ออกมามันก็มีส่วนจริงและไม่จริงอยู่บ้าง ผมก็เห็นด้วยนะครับที่ว่าวัยรุ่นไทยใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอันดับต้นๆของเอเชีย เพราะจากสิ่งที่ผมพบอยู่เป็นประจำก็คือ เพื่อนผมคุยโทรศัพท์วันๆ หนึ่งหลายชั่วโมงมาก เเต่ตัวผมส่วนใหญ่จะใช้โทรศัพท์ฟังเพลงมากกว่าการคุย บางคนนะครับอาจใช้เวลาอยู่กับมือถือตลอด 24 ชั่วโมงก็มี เรื่องนี้ผมเคยเจอมากับตัวเลยครับ เเต่ส่่วนใหญ่ผมว่าวัยรุ่นไม่ได้ใช้มือถือสื่อสารกับครอบครัวเป็นหลัก น่าจะเป็นส่วนน้อยมากกว่าเพราะวัยรุ่นมักจะโทรหาเพื่อนหรือแฟนมากกว่าโทรหาครอบครัว อันนี้พิสูจน์ได้ครับ


Mr. Paisan Hoysang
สาขา ไฟฟ้า ปวส.1/1






วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 10


หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ VS หนังสือกระดาษ (2:จบ)


คุยกันก่อน : ในตอนที่แล้ว กำลังกล่าวถึงจุดแข็งและจุดอ่อนบางประการของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มาตอนนี้จะเริ่มจากมุมมองเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต่อ ก่อนที่จะไปถึงมุมมองหนังสือกระดาษ





ความฝันอันสูงสุดของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จะเป็นจริงขึ้นมาได้หรือ ?

ความฝันอันสูงสุดของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่บรรจุหนังสือได้เป็นจำนวนนับล้าน ๆ เล่มจากห้องสมุดหรือร้านขายหนังสือทั่วโลก แล้วก็อ่านง่าย สบายตา ผู้อ่านสามารถค้นหาเรื่องและหน้า หรือตำแหน่งที่ต้องการได้ง่าย มีภาพเคลื่อนไหวที่คมชัด ราบรื่น ไม่สะดุด มีเสียงที่คมชัด ความฝันอันสูงสุดนี้ จะขึ้นอยู่กับพัฒนาการ 2 เรื่องที่ชัดเจนที่สุด คือ (1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทั่วโลก และ (2) เทคโนโลยีด้านตัวฮาร์ดแวร์ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ในส่วนเกี่ยวกับการค้นหาข้อมูลสาระ การแสดงภาพทั้งภาพนิ่งและเคลื่อนไหว และเสียง

สำหรับเรื่องแรก แนวโน้มความเป็นไปได้มีมากพอสมควร ที่เริ่มปรากฏขึ้นมาคือ โทรศัพท์มือถือที่เล่นอินเทอร์เน็ตได้ แต่เส้นทางของพัฒนาการจากโทรศัพท์มือถือที่เล่นอินเทอร์เน็ตได้ ถึงขั้นเชื่อมต่อและเรียกหาหนังสือจากห้องสมุดและร้านหนังสือทั่วโลก ผู้เขียนเชื่อว่า ยังจะต้องการเวลาอีกนานพอสมควร อย่างน้อยประมาณเกือบหนึ่งทศวรรษหรือนานกว่า แต่ก็แน่นอนว่า สามารถจะเกิดขึ้นได้ ถ้ามนุษย์ต้องการจริง ๆ

แล้วมนุษย์จะไม่ต้องการจริง ๆ หรือ ?

ผู้เขียนเชื่อว่า สิ่งที่มนุษย์ต้องการ จะเกิดขึ้นเสมอ แต่จะเกิดขึ้นในระดับเป็นที่แพร่หลายจริง ๆ หรือไม่ มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากกว่าความเป็นไปได้เพียงอย่างเดียว ธรรมชาติของมนุษย์ ก็เกี่ยวข้องด้วย รวมทั้งการลงทุนในเชิงเทคโนโลยี ที่กว่าจะถึงจุดทำกำไรได้ จะต้องมีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาอีกมาก และผลที่ออกมา อาจจะแพงเกินกว่าที่จะเป็นเทคโนโลยีสำหรับคนทั่ว ๆ ไปได้

สำหรับเรื่องที่สอง เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เป็นฮาร์ดแวร์ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่จะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้เขียนเชื่อว่า สามารถจะทำได้ และมีแนวโน้มจะก้าวหน้าไปเร็วกว่าเรื่องแรก

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นเพื่อนกับสภาพแวดล้อมจริงหรือ ?

ตัวอย่างที่มักอ้างกัน คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จะช่วยลดปัญหาการตัดไม้ทำลายระบบนิเวศน์ เพราะหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ต้องใช้กระดาษที่มาจากเยื่อไม้

ข้อดีข้อนี้ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ชัดเจนนัก เพราะอีกมุมหนึ่งของหนังสือกระดาษโต้แย้งได้ว่า ถึงแม้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ต้องใช้กระดาษ แต่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ ต้องใช้คอมพิวเตอร์ชิพ ซึ่งต้องผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ใช้กระบวนการทางเคมี ใช้สารเคมี และเป็นต้นเหตุของปัญหาสภาวะแวดล้อมได้

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จะช่วยแก้ปัญหา ด้านการศึกษาและการอ่านออกเขียนได้ของประชาชนในประเทศยากจนได้อย่างไร ?

มุมมองหนึ่งที่คาดหวังกัน คือ โดยอาศัยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพียงไม่กี่เล่ม ที่เชื่อมต่อกับห้องสมุดต่าง ๆ ทั่วโลกได้ในประเทศ หรือหมู่บ้านที่ยากจนมาก ๆ ที่ขาดแคลนหนังสือกระดาษ คนในประเทศหรือหมู่บ้านที่ยากจนเหล่านั้น ก็สามารถจะอ่านหนังสือดีมีคุณค่าจากห้องสมุดชั้นดีของโลกได้ และจะช่วยเพิ่มอัตราการอ่านออกเขียนได้ของคนในประเทศหรือหมู่บ้านที่ยากจนได้

ความหวังนี้ เป็นความฝันที่สวยหรู ที่มีคนไม่มากนักเชื่อว่า จะเกิดขึ้นได้จริง ๆ จากปัญหาการลงทุนด้านเทคโนโลยี นำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ไปถึงประเทศ หรือหมู่บ้านที่ยากจน และภาษาก็จะเป็นปัญหาอีกด้วย เพราะคนที่ยากจนทั่วโลกเป็นจำนวนมาก อ่าน - เขียนภาษาหลัก ๆ ของโลก ดังเช่น ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ที่เป็นภาษาหลัก ๆ ของหนังสือส่วนใหญ่ทั่วโลกไม่ได้

อย่างไรก็ตาม เมื่อมองโดยภาพรวม สำหรับผู้นิยมชมชอบมุมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ก็จะมั่นใจมากทีเดียวว่า ถึงแม้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์อาจจะแก้ปัญหาสภาวะแวดล้อมไม่ได้จริง ๆ อาจจะแก้ปัญหาด้านการศึกษาและการอ่านออกเขียนได้ของประชาชนในประเทศยากจนไม่ได้จริง ๆ แต่อนาคตของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กำลังมาแรงจริง ๆ และไม่มีอะไรจะไปหยุดยั้งได้ !




คราวนี้ ก็มาถึงมุมของหนังสือกระดาษ !

จริงหรือ หนังสือกระดาษ ไม่มีวันตาย ?

สำหรับคนที่เป็นนักอ่านหนังสือจริง ๆ คนที่รักหนังสือจริง ๆ มั่นใจเช่นนั้น !

เพราะอะไร ?

เพราะหนังสือกระดาษ มีและให้ในสิ่งที่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้ไม่ได้ ดังเช่น ความรู้สึกด้านคุณค่าและความรู้สึกที่พิเศษสำหรับหนังสือแต่ละเล่ม

หนังสือแต่ละเล่มที่เป็นหนังสือกระดาษ มีปกของตนเอง มีขนาดและความหนาของตนเอง หนังสือกระดาษพลิกอ่านได้อย่างที่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้ไม่ได้ เพราะถึงแม้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะสามารถแสดงปกหนังสือที่แตกต่างกันของแต่ละเล่มได้ แต่เมื่อไม่เปิดอ่าน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทุกเล่ม ก็จะเหมือนกันหมด เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ชิ้นหนึ่งที่คล้ายคลึงกันไปหมด

คนรักหนังสือส่วนใหญ่ เมื่อหยิบหนังสือกระดาษแต่ละเล่มขึ้นมา จะมีความรู้สึกเป็นพิเศษกับหนังสือที่อยู่ในมือ ความใหม่ ความเก่า สีของกระดาษ กลิ่นของกระดาษ ล้วนเป็นสิ่งที่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้ไม่ได้

ข้อดีอีกข้อหนึ่งของหนังสือกระดาษ คือ เป็นเพื่อนที่ไว้ใจได้เสมอ เปิดเมื่อไร ก็ได้อ่าน ในขณะที่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า ต้องใช้ถ่านหรือแบตเตอรี่ จึงจะอ่านได้ หมดพลังงานไฟฟ้าเมื่อไร ก็อ่านไม่ได้

สำหรับเรื่องของคุณค่าแห่งการดำเนินชีวิต ในส่วนที่เกี่ยวกับความรีบร้อน เร่งรีบหรือไม่ หนังสือกระดาษจะสามารถสอนคุณค่าแห่งการดำเนินชีวิตในลักษณะดังกล่าวนี้ได้ดี เพราะผู้อ่านไม่ต้องรีบร้อน เปิดอ่าน ในทันทีที่หยิบหนังสือขึ้นมา ไม่เหมือนกับกรณีของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่ผู้อ่าน จำเป็นจะต้องรีบอ่าน มิฉะนั้นก็เสียทั้งเงิน ทั้งพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น

มาถึงข้อสุดท้าย จริงหรือ หนังสือกระดาษ เป็นครูในฝันของนักเรียน ?

ผู้เขียนขอตอบว่า จริง เพราะหนังสือกระดาษ เปรียบได้เป็นครูที่ใจดี ใจเย็น รู้ใจลูกศิษย์เสมอ ไม่ใส่อารมณ์เมื่อลูกศิษย์ทำไม่ได้ดังใจ ๊

ไม่เหมือนกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถ้าเปรียบเป็นครู ก็เป็นครูที่ใจร้อน เร่งให้ลูกศิษย์รีบทำสิ่งที่ควรจะทำ คือการอ่าน และถ้าลูกศิษย์อ่านช้าเกินไป ก็เกิดปัญหา มีคำเตือน หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์รวนขึ้นมาได้ อีกทั้งลูกศิษย์จะรู้สึกเสมอว่า จะต้องรีบอ่าน เพราะ " เวลาแพง " ( เวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ต หรือเวลาที่เป็นอายุของแบตเตอรี่ )


บทสรุปรวบยอดของผู้เขียน สำหรับเรื่องของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ VS. หนังสือกระดาษ เป็นดังนี้ :

ผู้เขียนเชื่อว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กำลังจะมาแรง ยุคของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กำลังจะมาถึงแล้วจริง ๆ แต่หนังสือกระดาษก็จะไม่มีวันตาย

แนวโน้มที่ผู้เขียนเห็น คือ หนังสือกระดาษ จะลดบทบาทลงไปบ้าง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะเข้ามาแทนที่หนังสือกระดาษได้มาก แต่ในอนาคต ผู้เขียนยังมองเห็นหนังสือ กระดาษอยู่เคียงคู่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไปอีกนานแสนนาน !





http://www.pantip.com/cafe/wahkor/article/chaiwat/cwt_bkkbz058.html

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 9

กระดาษหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์เล่มของโลก









รูปที่ท่านเห็นอยู่นี้ คือกระดาษหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์(E-Newspaper) เล่มแรกของโลก
ที่เกิดจากการคิดค้นและร่วมมือกันระหว่าง LG และ Phillips
หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิคส์เล่มนี้ใช้เทคโนโลยีแสดงผลที่เรียกว่า Eink
การเปิดอ่านหน้าต่อไปของหนังสือพิมพ์เล่มนี้ ง่ายๆเพียงแค่คุณนำนิ้วมือไปสัมผัสบนหน้าเท่านั้น
นอกจากนี้หนังสือพิมพ์เล่มนี้ยังสามารถ Download ข่าวสารใหม่ๆบน internet ได้อีกด้วย

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 8

รายชื่อหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย
หนังสือพิมพ์ทั่วไป

รายวัน

รายสามวัน

รายสัปดาห์

หนังสือพิมพ์ธุรกิจ

รายวัน

รายสามวัน

รายสัปดาห์

หนังสือพิมพ์กีฬา

รายวัน

รายสามวัน

  • ซูเปอร์พูล เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายสามวัน เสนอข่าวฟุตบอล และอัตราต่อรอง โดยเฉพาะฟุตบอลยุโรป ในเครือวัฏฏะ เว็บไซต์ซูเปอร์พูล
  • มองอย่างเซียน เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายสามวัน เสนอข่าวฟุตบอล และอัตราต่อรอง โดยเฉพาะฟุตบอลยุโรป ในเครือสยามสปอร์ต

หนังสือพิมพ์บันเทิง

รายวัน

รายสามวัน

หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ

  • Bkkpost logo.gif บางกอกโพสต์ (Bangkok Post) เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษรายวัน จำหน่ายในประเทศไทย ในเครือโพสต์ พับลิชชิง
  • Nation Logo.png เดอะ เนชั่น (The Nation) เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษรายวัน จำหน่ายในประเทศไทย ในเครือเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป
  • DailyXpress Logo.gif เดลี่ เอ็กซ์เพรส (Daily Xpress) เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษรายวัน แจกฟรีพร้อมหนังสือพิมพ์เดอะ เนชั่น และสถานที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร

หนังสือพิมพ์ภาษาจีน

หนังสือพิมพ์ภาษาญี่ปุ่น

หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น

ภาคเหนือ

  • Chiangmainews logo.png เชียงใหม่นิวส์ เป็นหนังสือพิมพ์รายวันของภาคเหนือ
  • Thainews logo.gif ไทยนิวส์ เป็นหนังสือพิมพ์รายวันของภาคเหนือ สำนักงานอยู่ที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ภาคอีสาน

ภาคใต้

  • Focus logo.jpg โฟกัสภาคใต้ เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ของภาคใต้ สำนักงานอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  • Samilatimes logo.jpg สมิหลา ไทมส์ เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ของภาคใต้ สำนักงานอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  • ทางไท เป็นหนังสือพิมพ์รายปักษ์ของภาคใต้ สำนักงานอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  • Siangtai logo.jpg เสียงใต้ เป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายวันของภาคใต้ สำนักงานใหญ่อยู่ที่อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

หนังสือพิมพ์ออนไลน์

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ึ 7

ข้อมูลทั้งหมด ในปี พ.ศ ๒๕๒๗หนังสือพิมพ์รายวันจำหน่ายได้มากที่สุด


หนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวันฉบับเช้าที่มีจำนวนจำหน่ายมากที่สุดในประเทศไทยก็คือหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ปัจจุบันมีจำนวนพิมพ์ถึงวันละ ๘๐๐,๐๐๐ฉบับและพิมพ์วันละ ๖ กรอบ (ในปี ๒๕๒๗)
ปัจจุบันหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซทที่ทันสมัยที่สุดจำนวน ๓๐ ยูนิตพิมพ์ และใช้เรียงพิมพ์ด้วยเครื่องเรียงพิมพ์ระบบคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยที่สุดเช่นกัน
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐมีจำนวนพิมพ์เพียง ๑๑๐,๐๐๐ ฉบับต่อวันเท่านั้น
ต่อมาเมื่อหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเปลี่ยนเครื่องพิมพ์จาก ระบบโรตารีเลตเตอร์เพลส ๓ เครื่องมาเป็นระบบ ออฟเซทสองแถ ๑๔ ยูนิตเมื่อเดืนพฤศจิกายน ๒๔๑๓ มียอดพิมพ์ถึง ๒๐๐,๐๐๐ ฉบับ ครั้งที่เกิดกรณี ๑๔ ตุลาคม ยอดพิมพ์เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๑๖ มีถึง ๓๙๒,๔๔๐ ฉบับ เมื่อวันที่๑๔ ตุลาคม ถึง ๕๔๘,๓๖๐ ฉบับ เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ถึง ๖๘๗,๒๓๐ ฉบับ และเมื่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ถึง ๑,๑๘๑,๔๗๐ ฉบับ เมื่อฉบับวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๔๐ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับแถมพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเทพฯ มียอดพิมพ์ถึง ๑,๒๕๐,๐๐๐ ฉบับ
ก่อนหน้า พ.ศ. ๒๕๐๕ หนังสือพิมพ์รายวันที่มีจำนวนจำหน่ายมากที่สุดก็เพียง ๓ -๔ หมื่น ฉบับเท่านั้น
แต่ก็อาจจะมียอดพิมพ์ขึ้นเมื่อมีข่าวสำคัญๆ เช่นเกิดมีการปฏิวัติรัฐประหารเป็นต้น แต่ก็เพิ่มไม่มาก
ปัจจุบันสำนักงานหรือหนังสือพิมพ์ไทยรัฐตั้งอยู่เลขที่ ๑ ถนนวิภาวดีรังสิต สามเสนใน เขต บางเขน กรุงเทพ ฯ ใกล้กับสถานีขนส่งสายเหนือ (ตลาดหมอชิต)


www.212cafe.com/freeweboard/view.php?user=jubjang&id=18

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 6

พิพิธภัณฑ์หนังสือพิมพ์ไทย
พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บนชั้นสองของอาคาร ชาตรี โสภณพนิช ภายในบริเวณสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย อาจารย์พลาดิสัย สิทธิธัญกิจ ประธานฝ่ายจัดอบรมของสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์หนังสือพิมพ์ไทยแห่งนี้กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษา ค้นคว้าและรวบรวมเอกสารหลักฐานต่างๆ ในวงการวิชาชีพหนังสือพิมพ์ไทย ภายในแบ่งเป็นส่วนจัดแสดงต่าง ๆ ส่วนแรกเรียกว่า ส่วนต้นแบบ ซึ่งหมายถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ท่านทรงเป็นองค์ปฐม เริ่มกิจการทางด้านการพิมพ์ และเป็นบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์ราชกิจจานุเบกษา หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของคนไทย และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ทรงเป็นกษัตริย์นักหนังสือพิมพ์ และพระองค์ทรงออกพระราชบัญญัติเรื่องสมุด หรือเรื่องหนังสือ อีกด้วย บริเวณนี้มีคอมพิวเตอร์ระบบมัลติมีเดียให้ผู้ชมค้นคว้าและเรียนรู้ถึงพระปรีชาสามารถของทั้ง 2 พระองค์ส่วนจัดแสดงต่อมาคือ ห้องหนังสือพิมพ์จำลอง เป็นการจำลองการทำงานของกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ตั้งแต่ผู้สื่อข่าว บรรณาธิการ และช่างเรียงพิมพ์ และอุปกรณ์ที่ใช้ในสมัยนั้นเช่น โต๊ะเก้าอี้ไม้แบบเก่า โต๊ะนักข่าวเป็นโต๊ะที่ใช้รวมสำหรับประชุมข่าวและใช้เขียนข่าว มีหุ่นเท่าคนจริงที่จำลองเป็นผู้ทำหน้าที่เป็นเจ้าของและบรรณาธิการนั่งอยู่กลางห้องจำลองสีหน้าดูเคร่งเครียด และนักข่าวที่กำลังตั้งอกตั้งใจพิมพ์งาน ท่าทางเหมือนจะรีบพิมพ์ข่าวให้ทันปิดเล่มวันนี้ และช่างเรียงพิมพ์ที่กำลังจัดเรียงตัวอักษรทีละตัว ด้านหน้าของห้องจำลองมีคอมพิวเตอร์ระบบมัลติมีเดีย บอกเรื่องราวของหนังสือพิมพ์ไทยในอดีต กองบรรณาธิการ และการทำงานของนักข่าวในอดีต ให้เราได้ศึกษาด้วยตนเองเช่นกันกลางห้องของพิพิธภัณฑ์จัดแสดงหนังสือพิมพ์ L’ILLUSTRATION ค.ศ.1893 ฉบับจริง ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสที่ลงข่าวเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไทย เสด็จประพาสยุโรปผนังอีกด้านแสดงภาพระบบมัลติมีเดีย เสนอข่าวและข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่สำคัญบนจอขนาดใหญ่ให้เห็นได้ชัดเจนถัดมานำเสนอประวัติและผลงานของนักหนังสือพิมพ์คนสำคัญ เช่น ตวส. วรรณาโก (เทียนวรรณ) พระราชวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤติยาลงกรณ์ (น.ม.ส.) พระเจ้าวงวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) ฝั่งตรงข้ามกันเป็น ห้องนิทรรศการหนังสือพิมพ์ไทย ด้านหน้าห้องประดับภาพฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายในห้องนิทรรศการ มีภาพของหนังสือพิมพ์และนิตยสารหัวต่างๆ พร้อมประวัติความเป็นมา ซึ่งผู้สนใจสามารถหยิบยืมชุดนิทรรศการเหล่านี้ไปจัดแสดงได้บริเวณโดยรอบของห้องจัดแสดง ยังมีเครื่องมือผลิตหนังสือพิมพ์ตั้งแต่ดั้งเดิมให้ได้ชม อาทิ เครื่องพิมพ์สองศตวรรษ แท่นพิมพ์รุ่นแรก เครื่องพิมพ์ดีดรุ่นแรก และยังมีเครื่องไมโครฟิล์มให้ค้นคว้าข่าวสารต่าง ๆ จากหนังสือพิมพ์เก่าๆ เช่น หนังสือพิมพ์ศรีกรุง หนังสือพิมพ์ประชาชาติ นอกจากพิพิธภัณฑ์แล้ว บริเวณชั้นเดียวกัน ยังมีห้องสมุดประชาชน ชินโสภณพนิช ให้ค้นคว้า มีห้องโสตทัศนูปกรณ์ เอื้องหลวง นำเสนอวิดีทัศน์เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของหนังสือพิมพ์ไทยก่อนจะเข้าไปชมของจริงในพิพิธภัณฑ์