วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 6

พิพิธภัณฑ์หนังสือพิมพ์ไทย
พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บนชั้นสองของอาคาร ชาตรี โสภณพนิช ภายในบริเวณสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย อาจารย์พลาดิสัย สิทธิธัญกิจ ประธานฝ่ายจัดอบรมของสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์หนังสือพิมพ์ไทยแห่งนี้กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษา ค้นคว้าและรวบรวมเอกสารหลักฐานต่างๆ ในวงการวิชาชีพหนังสือพิมพ์ไทย ภายในแบ่งเป็นส่วนจัดแสดงต่าง ๆ ส่วนแรกเรียกว่า ส่วนต้นแบบ ซึ่งหมายถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ท่านทรงเป็นองค์ปฐม เริ่มกิจการทางด้านการพิมพ์ และเป็นบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์ราชกิจจานุเบกษา หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของคนไทย และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ทรงเป็นกษัตริย์นักหนังสือพิมพ์ และพระองค์ทรงออกพระราชบัญญัติเรื่องสมุด หรือเรื่องหนังสือ อีกด้วย บริเวณนี้มีคอมพิวเตอร์ระบบมัลติมีเดียให้ผู้ชมค้นคว้าและเรียนรู้ถึงพระปรีชาสามารถของทั้ง 2 พระองค์ส่วนจัดแสดงต่อมาคือ ห้องหนังสือพิมพ์จำลอง เป็นการจำลองการทำงานของกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ตั้งแต่ผู้สื่อข่าว บรรณาธิการ และช่างเรียงพิมพ์ และอุปกรณ์ที่ใช้ในสมัยนั้นเช่น โต๊ะเก้าอี้ไม้แบบเก่า โต๊ะนักข่าวเป็นโต๊ะที่ใช้รวมสำหรับประชุมข่าวและใช้เขียนข่าว มีหุ่นเท่าคนจริงที่จำลองเป็นผู้ทำหน้าที่เป็นเจ้าของและบรรณาธิการนั่งอยู่กลางห้องจำลองสีหน้าดูเคร่งเครียด และนักข่าวที่กำลังตั้งอกตั้งใจพิมพ์งาน ท่าทางเหมือนจะรีบพิมพ์ข่าวให้ทันปิดเล่มวันนี้ และช่างเรียงพิมพ์ที่กำลังจัดเรียงตัวอักษรทีละตัว ด้านหน้าของห้องจำลองมีคอมพิวเตอร์ระบบมัลติมีเดีย บอกเรื่องราวของหนังสือพิมพ์ไทยในอดีต กองบรรณาธิการ และการทำงานของนักข่าวในอดีต ให้เราได้ศึกษาด้วยตนเองเช่นกันกลางห้องของพิพิธภัณฑ์จัดแสดงหนังสือพิมพ์ L’ILLUSTRATION ค.ศ.1893 ฉบับจริง ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสที่ลงข่าวเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไทย เสด็จประพาสยุโรปผนังอีกด้านแสดงภาพระบบมัลติมีเดีย เสนอข่าวและข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่สำคัญบนจอขนาดใหญ่ให้เห็นได้ชัดเจนถัดมานำเสนอประวัติและผลงานของนักหนังสือพิมพ์คนสำคัญ เช่น ตวส. วรรณาโก (เทียนวรรณ) พระราชวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤติยาลงกรณ์ (น.ม.ส.) พระเจ้าวงวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) ฝั่งตรงข้ามกันเป็น ห้องนิทรรศการหนังสือพิมพ์ไทย ด้านหน้าห้องประดับภาพฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายในห้องนิทรรศการ มีภาพของหนังสือพิมพ์และนิตยสารหัวต่างๆ พร้อมประวัติความเป็นมา ซึ่งผู้สนใจสามารถหยิบยืมชุดนิทรรศการเหล่านี้ไปจัดแสดงได้บริเวณโดยรอบของห้องจัดแสดง ยังมีเครื่องมือผลิตหนังสือพิมพ์ตั้งแต่ดั้งเดิมให้ได้ชม อาทิ เครื่องพิมพ์สองศตวรรษ แท่นพิมพ์รุ่นแรก เครื่องพิมพ์ดีดรุ่นแรก และยังมีเครื่องไมโครฟิล์มให้ค้นคว้าข่าวสารต่าง ๆ จากหนังสือพิมพ์เก่าๆ เช่น หนังสือพิมพ์ศรีกรุง หนังสือพิมพ์ประชาชาติ นอกจากพิพิธภัณฑ์แล้ว บริเวณชั้นเดียวกัน ยังมีห้องสมุดประชาชน ชินโสภณพนิช ให้ค้นคว้า มีห้องโสตทัศนูปกรณ์ เอื้องหลวง นำเสนอวิดีทัศน์เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของหนังสือพิมพ์ไทยก่อนจะเข้าไปชมของจริงในพิพิธภัณฑ์

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ส่ง e-book

http://www.ebook.com/ebooks/Science/Understanding_the_New_Solar_System

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 5

ข้อดี - ข้อเสีย ระหว่างการอ่านข่าวอินเตอร์เน็ตกับหนังสือพิมพ์

การอ่านหนังสือพิมพ์บนอินเตอร์เน็ต
ข้อดี
1. อัพเดทข่าวสาวรวดเร็วทันใจ ทุกเหตุการณ์
2. ประหยัดเงินเพราะไม่ต้องซื้อหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ เดลินิวส์ คม ชัด ลึก เดอะเนชั่น บางกอกโพส์ฯลฯ
3. ไม่เปลืองทรัพยากรธรรมชาติ กระดาษทำมาจากเยื่อต้นไม้ ถือว่าเป็นการช่วยโลกอีกวิธีหนึ่ง
4. มือไม่ติดหมึกเวลาอ่าน เมื่อมือติดหมึกอาจทำให้สารพิษที่เรียกว่าสารหนูเข้าร่างกายได้ ทำให้เกิดโรคอีกตังหาก
5. ง่ายสะดวกสบายแค่ คลิ๊ก.. เท่านั้น
6. เข้าถึงหัวข้อของคนที่อ่านได้โดยตรง เช่น ชอบเศรษฐกิจ หรือ การเมือง เจาะจงได้เลยไม่ต้องเสียเวลาเปิดค้นหาแถมสามารถเซฟได้ด้วยแค่คลิ๊กด้วยปลายนิ้ว ถ้าเกิดชอบบทความนั้นๆ ไม่ต้องยุ่งยากหากระดาษมาจด หรือหา กรรไกรมาตัด

ข้อเสีย
1.บางข่าวใช้เวลาโหลดนาน ไม่ทันใจวัยโจ๋ วุ้ย วุ้ย ยิ่งข่าวยอดฮิตโหลดนาน ทำให้เสียเวลานานในการอ่านหนังสือพิมพ์นานขึ้น
2.เสียค่าไฟแทน ประหยัดทรัพยากรด้านต้นไม้แต่แปรมาเป็นเสียทรัพยากรด้านพลังงานที่แปรมาเป็นค่าไฟ


การอ่านหนังสือพิมพ์
ข้อดี
1.ไม่ต้องใช้เวลาในการโหลด แค่เปิดพลิกๆก็อ่านได้ ไม่เสียเวลา
2.ไม่เปลืองทรัพยากรด้านพลังงานไฟฟ้า
3.ไม่โดนรังสีที่ออกมาจากคอมทำให้มีผลเป็นโรคมะเร็ง หรืออาจทำให้สายตาสั้นลงเร็วขึ้น และความเสี่ยงโรคอื่นๆอีกมากมาย
4.สามารถพกไปอ่านที่ไหนก็ได้ อ่านไม่จบก็พับเก็บไว้ก่อนแล้วเอาติดตัวไปด้วย จากนั้นค่อยอ่านใหม่

ข้อเสีย
1. เปลืองเงิน ถ้าจะอ่านข่าว ธุรกิจรายวัน เดอะเนชั่น และ ไทยรัฐ ต้องเสียเงินซื้อทั้งสามเล่มเลยทีเดียว ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
2. เปลืองทรัพยากรธรรมชาติ เพราะว่าซื้อมากๆนั้น ทางโรงก็สั่งพิมมากขึ้นทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่ามากขึ้น
3. บ้านรกอ่านทุกวันๆ เก็บมันไม่ได้เอาไปทิ้งเป็นประจำ
4. การที่เราชอบหัวข้อไหนก็คลิ๊กได้เลยตรงหัวข้อนั้นๆ ทำให้เราไม่ได้สนใจอย่างอื่นและไม่ได้เข้าไปดู กลายเป็นว่ารู้ไม่ครอบคลุมแต่รู้เจาะจง เช่น ชอบดาราบันเทิง ก็จะรู้แต่เรื่องนั้น แต่ถ้าถากมีหนังสือพิมพ์ หัวข้อข่าวสามารถดึงดูดเราให้เราอ่านคอลัมน์อื่นๆได้


http://aryanjija.spaces.live.com/blog/cns!616DFB2844AEB167!355.entry

วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4

ศตวรรษที่ 18 ศตวรษของหนังสือพิมพ์ในอังกฤษ (ต่อและจบ)

ศตวรรษที่ 18 เป็นยุคของความรอบรู้ (Age of Enlightenment) ปรัชญาเมธีจำนวนมากเผยแพร่ความคิดของตนในสิ่งพิมพ์ คนมีการศึกษาสูงขึ้นและฉลาดขึ้นกว่าในศตวรรษก่อนๆ ปี 1738 เริ่มการปฏิวัติอุตสาหกรรม เครื่องพิมพ์ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น จากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมา ทำให้การหนังสือพิมพ์เริ่มวางรากฐานมั่นคงขึ้นทั้งในด้านทุนผลิต คณะผู้จัดทำ การจัดจำหน่าย การสื่อข่าว การเขียนข่าวและสารคดี ตลอดจนความนิยมของผู้อ่านที่มีต่อหนังสือพิมพ์มากขึ้นอย่างไม่มีทีท่าว่าจะลดลง
มีข้อที่น่าสังเกต คือ แม้ผู้อ่านจะยอมรับหนังสือพิมพ์มากขึ้นและหนังสือพิมพ์มีอิทธิพลทางการเมือง แต่หลังจากยุคของแอดิสัน สวิฟท์ สตีล นักหนังสือพิมพ์กลับตกต่ำลงในด้านการยอมรับของสังคม ดอคเตอร์จอห์นสัน เขียนบทความลงใน London Chronicle ปี 1757 โจมตีนักหนังสือพิมพ์ที่ขายตัวเอง “ให้แก่บุคคลหรือพรรค…….ไม่มีความปรารถนาเพื่อสัจจะ หรือความคิดที่ดีงาม ไม่สนใจในการเสื่อมเสียชื่อเสียงของบุคคลอื่นมากกว่าการผูกตัวเองเข้ากับผลประโยชน์” ปี 1777 ระหว่างการสอบสวนคดีปลอมเอกสารของท่านสาธุคุณ William Dodd มีการพูดกันในศาลเพื่อยืนยันความผิดของจำเลยว่า “เขาจมต่ำในความเลวอย่างถึงขนาด พอๆ กับบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ทีเดียว” ความเสียหายของหนังสือพิมพ์ในศตวรรษนี้ขึ้นอยู่กับชื่อเสียงในการรับสินบน บรรณาธิการสามารถรับจ้างเขียนโจมตีศัตรูของใครก็ได้ในอัตราค่าโฆษณา
สาเหตุที่เป็นดังนี้พอจะพิจารณาได้หลายแง่ เช่น นอกจากนักหนังสือพิมพ์ที่โด่งดังมากๆ 5-6 คนแล้ว มีนักหนังสือพิมพ์เป็นจำนวนมากที่มีการศึกษาและประสบการณ์เพียงครึ่งๆ กลางๆ ในเวลานั้นงานหนังสือพิมพ์เพิ่งจะเป็นอาชีพใหม่ นักหนังสือพิมพ์ที่จะยึดมั่นในอุดมการณ์ทางวิชาชีพจึงมีไม่มากนัก เป็นการฉุดดึงฐานะของอาชีพนี้ให้ตกต่ำ แต่ถึงแม้ว่าจะมีจุดบอดดังนี้ แต่หนังสือพิมพ์สมัยศตวรรษที่ 18 ก็ยังสามารถสร้างอิทธิพลทางการเมือง และมีอนาคตที่สดใสมากขึ้นในสมัยต่อมา
ศตวรรษที่ 18 มีการควบคุมหนังสือพิมพ์โดยการตั้งผู้ตรวจตราหนังสือพิมพ์ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่กว้างขวาง เช่น พระเจ้าเจมส์ที่ 2 ทรงแต่งตั้งเซอร์ โรเจอร์ เลสตรองนจ์ (Sir Roger L’Estrange) ให้ดำรงตำแหน่งนี้ บุคคลผู้นี้มองข่าวหนังสือพิมพ์ด้วยความแคลงใจว่า มันทำให้ประชาชนคุ้นเคยและใกล้ชิดกับพฤติกรรมของผู้ปกครองมากเกินไป และการที่เขาได้รับแต่งตั้งสู่ตำแหน่งนี้ก็เหมาะการตีพิมพ์ข้อเสนอให้ควบคุมสิ่งพิมพ์ ชื่อว่า “Confederations and Proposals in order to the Regulation of the Press” กษัตริย์ในราชวงศ์สจ๊วตเป็นผู้ตั้งข้อกล่าวหา เป็นผู้แต่งตั้งตุลาการ และจัดหาพยานหลักฐานในกรณีที่เห็นว่าผู้ใดมีความผิดฐานยุยงให้เกิดความกระด้างกระเดื่อง
ค.ศ. 1712 รัฐบาลออกภาษีแสตมป์ (Stamp Act) เพื่อควบคุมการผลิตและจำนวนจำหน่าย ซึ่งในขณะเดียวกันรัฐก็ได้ผลประโยชน์ไปด้วย เจ้าของหนังสือพิมพ์ต้องจ่าย 1 เพนนีต่อกระดาษ 1 แผ่น บวกกับอีก 1 ชิลลิง สำหรับโฆษณาแต่ละชิ้นที่ลงพิมพ์ จำนวนเงินที่ต้องจ่ายนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้กฎหมายฉบับหลังๆ ที่ออกตามมาจนถึงปี 1836 ซึ่งภาษีเหล่านี้ได้ลดลงได้มีความพยายามจะเลี่ยงกฎหมายปี 1712 เช่น ตีพิมพ์เพียงหนึ่งหน้าครึ่ง และบอกว่าเป็นจุลสารด้วยวิธีนี้จะถูกหักภาษีเท่ากับ 1 หน้ากระดาษ ไม่ว่าจะมีจำนวนจำหน่ายเท่าใด และค่าภาษีก็ต่ำลงมาเพียง 2 ชิลลิงต่อ 1 หน้า อย่างไรก็ตาม การเพิ่มหนังสือพิมพ์เท่ากับต้องเสียภาษีเพิ่ม เท่ากับเป็นการจำกัดจำนวนและเนื้อข่าวหนังสือพิมพ์มีราคาแพงขึ้นทำให้จำนวนจำหน่ายต่ำ เป็นสิ่งที่ขัดขวางความเจริญของหนังสือพิมพ์ที่แสวงหาผู้อ่านเป็นอย่างมาก เพราะมีผู้อ่านจำนวนมากที่เข้าอ่านที่ร้านกาแฟหรือร้านเหล้า หรืออ่านฟรีตามที่อ่านหนังสือพิมพ์
“เหยี่ยว” ซึ่งขายหนังสือพิมพ์ข้างถนน (และหลายคนธุรกิจเฟื่องฟูถึงขนาดควบคุมการจัดจำหน่ายหนังสือ พิมพ์รายวันจำนวนหลายพันในกรุงลอนดอน) และช่างพิมพ์เป็นผู้รับผิดชอบ หากมีการออกหนังสือพิมพ์เถื่อนที่หนีภาษี โทษของ “เหยี่ยว” คือ จำคุกราว 3 เดือน ช่างพิมพ์มีโทษจำหรือปรับ การควบคุมของรัฐบาลไม่ได้ยุติเพียงเท่านี้ เลขาธิการยังมีคนทั่วไปในอังกฤษและสก๊อตแลนด์ให้คอยส่งรายงานเกี่ยวกับเนื้อหาหนังสือพิมพ์ เช่น มีการจ้าง Nicholas Paston ในปี 1722 ในราคา 200 ปอนด์ต่อปี ให้คอยตรวจสอบเนื้อหาหนังสือพิมพ์ และเป็นกึ่งๆ ผู้เซ็นเซอร์ ซึ่งวิธีการนี้รัฐบาลจะรู้ตัวล่วงหน้า หากมีความพยายามจะก่อกวนราชบัลลังก์คนข่าวของกษัตริย์มีเสรีอย่างยิ่งที่จะออกค้นจับกุม ยึดสมบัติในโรงพิมพ์ รื้อแท่นพิมพ์ จับช่างพิมพ์ และลูกจ้างเข้าคุก และคิดค่าประกันตัวหลายร้อยปอนด์ การสอบสวนอาจเนิ่นไปเป็นเดือนๆ หรือเป็นปี ซึ่งโทษอาจจะหมายถึงการเข้าชื่อค่าปรับและจำคุก สิ่งที่น่าแปลก คือ การตัดสินจากคณะลูกขุนเป็นไปอย่างล่าช้าตลอดศตวรรษที่ 18 ลัทธิอำนาจนิยมเป็นฝ่ายล่าถอย
วิธีการควบคุมของรัฐโดยทั่วไปได้ผลน้อยลงทุกที จึงมีการใช้วิธีใหม่ คือ การใช้เงินของแผ่นดินไปกว้านซื้อ หรือให้ความสนับสนุนแก่หนังสือพิมพ์เอกชน ในระยะเวลาอันยาวนานที่วอลโปล (Robert Walpol 1676-1745) ครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของอังกฤษ รัฐบาลใช้วิธีเอาเงินซื้อนักเขียนบทวิจารณ์การเมือง และหนังสือพิมพ์ก็มีข้อผูกพันกับรัฐบาลโดยใช้เงินราชการลับ นอกจากนี้บรรดาบรรณาธิการฝ่ายค้านก็มักถูกข่มขู่สลับกันไปกับการให้สินบนล่อใจ
ศตวรรษที่ 18 เป็นช่วงเวลาที่ชาวอเมริกันในโลกใหม่กำลังเรียกหาเสรีภาพ การเรียกร้องนี้ข้ามแดนไปถึงยุโรปและเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการปฏิวัติในฝรั่งเศสในปี 1789 นับแต่ปี 1750 เป็นต้นมา คนอย่างวอลแตร์ รุสโซ ดิเดโรต์ เรียกร้องเสรีภาพทางการพิมพ์ Encyclopedia ประกาศว่า “ประเทศใดก็ตามที่พลเมืองไม่อาจคิดและเขียนความคิดของตนออกมาได้ ประเทศนั้นย่อมตกลงไปในหุบเหวแห่งความโง่เขลาเบาปัญญา ความงมงายและความป่าเถื่อน” ยุโรปก้าวเข้าสู่ยุคแห่งเหตุผล (Age of Enlightenment) การต่อสู้เพื่อเสรีภาพทางการพิมพ์ในลอนดอนเริ่มขึ้นใน Daily Advertiser ในคอลัมน์ชื่อ “จดหมายของจูเนียส” (Letters of Junius) โจมตีรัฐบาล เรื่องการอนุญาตให้นักข่าวเข้าสังเกตการณ์รัฐสภา2 ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่สิบแปด มีวิวัฒนาการสำคัญสามประการซึ่งเป็นอุปสรรคทำให้การดำเนินคดีในความผิดฐานยุยงให้เกิดความกระด้างกระเดื่องยากลำบากยิ่งขึ้น คือความเสื่อมของลัทธิอำนาจนิยม การเพิ่มบทบาทของพรรคการเมืองและการแพร่ขยายของลัทธิประชาธิปไตย แม้การจับกุมและดำเนินคดียังมีอยู่แต่คณะลูกขุน (Juries) มักไม่ยินยอมคล้ายตามและปฏิเสธที่จะลงโทษผู้ถูกกล่าวหาดังกล่าว





ในปี 1785 จอห์น วอลเตอร์ (John Walter) ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ Daily Universal Register ซึ่งต่อมาคือ The Times อันเลื่องชื่อของอังกฤษ การหนังสือพิมพ์ในอังกฤษค่อยๆ เคลื่อนย้ายเข้าสู่ศตวรรษที่ 19 ด้วยรากฐานที่มั่นคงพอสมควรสำหรับยุคใหม่ของหนังสือพิมพ์เพื่อมวลชน (Press for the Mass) ชื่อหนังสือพิมพ์จะถูกนำมาใช้สร้างประชามติ และเข้ามามีอิทธิพลทางการค้ามากขึ้นพร้อมด้วยวิวัฒนาการทางเครื่องจักร ในปี 1820 อังกฤษมีห้องอ่านหนังสือพิมพ์ทั่วประเทศปี 1840 หนังสือพิมพ์ประกาศตนเป็นอิสระจากรัฐบาล เป็นตัวแทนประชามติให้ข้อมูลประชาชนหรือการตัดสินใจทางการเมือง Times เป็นตัวนำในการกู้ฐานะฐานันดร 4 ให้กลับคืนมา หนังสือพิมพ์อังกฤษในต้นศตวรรษที่ 19 มีทั้งความชำนาญ ความซื่อตรงต่ออาชีพและการอุทิศตนต่อสังคม ไม่มีใครซื้อคนหนังสือพิมพ์ได้อีกต่อไปปี 1850 เกิดหนังสือพิมพ์ราคาถูกฉบับแรก (penny papers) ชื่อ Daily Telegraph และในปี 1880 อังกฤษก็แปรโฉมหนังสือพิมพ์ไปสู่ยุคใหม่ ซึ่งเป็นยุคของการแสดงความคิดเห็นและยุคของอุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์ ทางหนังสือพิมพ์ไปสู่อิทธิพลอันยิ่งใหญ่ของฐานันดร 4 ในศตวรรษที่ 20






http://www.oknation.net/blog/print.php?id=53231