วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 3

ประวัติหนังสือพิมพ์


บทความน่ารู้ : เรื่องประวัติหนังสือพิมพ์
ที่นี่คือศูนย์รวมบทความที่น่าสนใจและให้ความรู้จากทุกมุมโลก เพื่อเป็นแหล่งความรู้สำหรับคนไทยทุกคน

หนังสือพิมพ์

หนังสือพิมพ์ คือ สิ่งพิมพ์ที่เสนอข่าว การเคลื่อนไหวใหม่ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ มีกำหนดการออกที่แน่นอนตายตัว โดยส่วนใหญ่จะออกเป็นรายวัน นอกจากนี้แล้วยังมีหนังสือพิมพ์รายสามวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์ และรายเดือน หนังสือพิมพ์มักจะพิมพ์ลงในกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์โดยเฉพาะ ซึ่งมีราคาถูก

เนื้อหาหลักของหนังสือพิมพ์คือข่าวสารบ้านเมืองและเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านต่างๆ อาทิ ข่าวการเมือง ข่าวอาชญากรรม ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวกีฬา และข่าวบันเทิง มีการใช้รูปภาพประกอบเนื้อหา ทำให้เนื้อหาชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้แล้วอาจมีส่วนต่างๆ เพิ่มเติมเป็นพิเศษ เช่น พยากรณ์อากาศ และ การ์ตูน ซึ่งโดยทั่วไปเป็นการ์ตูนล้อเลียนการเมือง

ประวัติ

ประมาณ 60 ปีก่อนคริสต์ศักราช ยุคอาณาจักรโรมันที่อารยธรรมเจริญยิ่ง จักรพรรดิจูเลียสซีซาร์บัญชาให้อาลักษณ์คัดลอกแถลงการณ์ของพระองค์ รวมถึงข่าวประจำวันของราชการ แล้วนำไปปิดไว้ตามกำแพงในที่ชุมชนเพื่อประชาชนได้อ่านทั่วถึง ใบประกาศนั้นเรียก "แอ็กตา ดิอูนา" (Acta diuna) นับว่าเป็นต้นแบบหนังสือพิมพ์ ขณะที่ทางตะวันออก ในประเทศจีนก็ได้กำเนิดหนังสือพิมพ์ ซิงเป่า (Tsing Pao) ตีพิมพ์เรื่องราวเกี่ยวกับราชการสำนักมาตั้งแต่ พ.ศ. 1043

จากแผ่นประกาศข่าว วิวัฒนาการเป็นจดหมายข่าว และหนังสือข่าว รายงานข่าวสารทางการค้า การเมือง แล้วพัฒนาเป็นหนังสือพิมพ์ซึ่งเกิดขึ้นหลังจาก พ.ศ. 1997 ที่ โจฮัน กูเต็นเบิร์ก ชาวเยอรมัน ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์และตัวพิมพ์ขึ้น และวิลเลียมส์ แซกส์ตัน นำเครื่องพิมพ์ไปใช้ในประเทศอังกฤษ

การพัฒนาแท่นพิมพ์ดีขึ้นเป็นลำดับ ที่สุดหนังสือพิมพ์ฉบับแรกก็เกิดขึ้น คือ Avisa Relation Order Zeitung พิมพ์ขึ้นในประเทศเยอรมนีเมื่อ พ.ศ. 2152 แต่ไม่ใช่หนังสือพิมพ์รายวัน กระทั่ง พ.ศ. 2165 อังกฤษรวบรวมข่าวรายวันมาพิมพ์ออกจำหน่ายเป็นรายสัปดาห์ ในชื่อ A Weekly News London ถือเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของโลก โดยเสนอข่าวที่เกิดขึ้นในภูมิภาคยุโรป เป็นของใหม่ที่ได้รับความสนใจมากพอควร แต่ออกเป็นรายสัปดาห์ ต่อมา ได้มีผู้ริเริ่มออกหนังสือพิมพ์เป็นรายวันคนแรกของโลกคือ เอ็ดวาร์ด มอลเลต หนังสือชื่อ The Daily Courant ฉบับแรกออกเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2245 เปิดโลกใหม่ด้วยการเสนอบทความ บทวิจารณ์สังคม คอลัมนิสต์ชื่อดังคือ ดาเนียล เดอโฟ

บทวิจารณ์เขาโจมตีรัฐบาลและวิธีการปฏิบัติศาสนกิจของคริสต์ ถูกใจประชาชน แต่เป็นที่ขัดใจของกษัตริย์และพระสันตะปาปา เขาถูกจับตัวคุมขัง แต่มีเพื่อนดีจัดหาอุปกรณ์เครื่องเขียนให้ เดอโฟจึงคิดออกหนังสือพิมพ์ วิธีการคือเขาเป็นผู้เขียนข่าวหรือบทความจากข้อเท็จจริงที่เพื่อนส่งมาให้จากภายนอก เสร็จแล้วส่งออกไปพิมพ์ นั่นเป็นจุดกำเนิดของหลักการ "เขียนข่าวใหม่" หรือเรียบเรียงข่าว หรือ Rewriting

ส่วนในสหรัฐอเมริกาหนังสือพิมพ์รายวันฉบับแรกออกเมื่อ พ.ศ. 2326 ชื่อ 'Pennsylvania Evening post and Daily Advertiser

หนังสือพิมพ์ในประเทศไทย

เดลินิวส์วิวัฒนาการของหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีกลุ่มมิชชันนารีอเมริกันเป็นเจ้าของและบรรณาธิการ ซึ่งหมอบรัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์ข่าวรายปักษ์เล่มแรกของไทย ชื่อ "บางกอกรีคอร์เดอร์" พิมพ์ด้วยภาษาไทยและอังกฤษ แต่มีอายุได้ไม่ถึง 2 ปีก็ต้องปิดกิจการลง

หลังจากนั้นก็มีหนังสือพิมพ์ออกมาอีกหลายฉบับ ทั้งรายสัปดาห์ รายปักษ์ และรายปี อาทิ หนังสือพิมพ์บางกอกคาเลนดาร์ ต่อมาพัฒนาเป็นหนังสือพิมพ์รายวัน เช่น Bangkok Daily Advertiser และ Siam Daily Advertiser

ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นผู้จัดทำหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ชื่อ "ราชกิจจานุเบกษา" เพื่อชี้แจงข่าวคลาดเคลื่อนที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ และเพื่อแจ้งข่าวการบริหารพระราชภารกิจทางการเมือง

ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรกที่เผยแพร่สู่ประชาชน ชื่อ "ดรุโณวาท" ในยุคนี้วงการหนังสือพิมพ์ตื่นตัวมากโดยมีการออกหนังสือพิมพ์ถึง 59 ฉบับ

สมัยรัชกาลที่ 6 กิจการหนังสือพิมพ์ก้าวหน้ามาก ต่อเนื่องมาถึงรัชกาลที่ 7 มีหนังสือพิมพ์ 55 ฉบับ โดยมีหนังสือที่มีชื่อเสียงและน่าเชื่อถือที่สุด คือ "หนังสือพิมพ์ประชาชาติ" ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่มีอิทธิพลต่อผู้อ่านมาก โดยเฉพาะปัญญาชนที่ตื่นตัวทางการเมืองเศรษฐกิจและสังคม

สมัยรัชกาลที่ 8 ต่อเนื่องรัชกาลปัจจุบัน หนังสือพิมพ์เริ่มถูกควบคุมโดยรัฐบาล และเมื่อปี 2501 เกิดรัฐประหาร นำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หนังสือพิมพ์ตกไปอยู่ภายใต้การควบคุมของประกาศคณะปฏิวัติ ในยุคนี้มีหนังสือพิมพ์ 31 ฉบับ เช่น หนังสือพิมพ์เกียรติศักดิ์ (2495-2513) เดลินิวส์ (2507-ปัจุจบัน) เดลิเมย์ (2493-2501) ไทยรัฐ (2492-ปัจจุบัน) ไทยเดลี่ (2512) แนวหน้า (2495-2506) ประชาธิปไตย (2502) พิมพ์ไทย (2489) สยามนิกร (2481-2512) สารเสรี (2497-2508) สยามรัฐ (2493) เสียงอ่างทอง (2500-2507) และหนังสือพิมพ์อณาจักรไทย (2501-2504) เป็นต้น



ที่มา http://www.thaibizcenter.com/KnowledgeCenter.asp?kid=177

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2




นิวเซียมพิพิธภัณฑ์หนังสือพิมพ์

คอลัมน์ แกะรอยต่างแดนโดย ศรีสกุล ลีลาพีระพันธ์ต่อจากนี้ ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับวงการสื่อสารมวลชนจะมีที่เก็บเป็นเรื่องเป็นราวและใหญ่โต ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมืองหลวงของสหรัฐอเมริกา ในชื่อว่า นิวเซียม (Newseum) ประมาณว่ามาจากคำว่า News บวกกับคำว่า Museum กลายเป็นนิวเซียม ที่กำลังจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 เมษายนนี้แล้ว ต้อนรับช่วงฤดูใบไม้ผลิของสหรัฐพิพิธภัณฑ์นิวเซียมนี้ ก่อตั้งขึ้นโดยองค์กรฟรีด้อม ฟอรั่ม เป็นพิพิธภัณฑ์สำหรับรวบรวมเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ด้านการข่าวที่ยาวนานกว่า 150 เอาไว้ให้ผู้คนได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารมวลชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันผ่านสื่อต่างๆ ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เดิมเคยมีนิวเซียมมาแล้วที่เมืองอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย แต่ได้ปิดไปเมื่อปี 2002 ซึ่งตอนนั้นเปิดให้ประชาชนได้เข้าชมฟรี ก่อนที่ฟรีด้อม ฟอรั่ม จะคิดสร้างนิวเซียมขึ้นใหม่ให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิม เรียกว่าใกล้เคียงกับสมิธโซเนียนกันเลยทีเดียวแล้วก็ได้ดั่งใจ เมื่อนิวเซียมแห่งใหม่ถูกสร้างขึ้นบนถนนเพนซิลเวเนีย ในกรุงวอชิงตัน บนเนื้อที่ 2,323 ตารางเมตร มูลค่ารวม 450 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในวันเปิดจะให้ผู้ชมเข้าชมฟรี แต่หลังจากนั้นจะคิดเงินค่าเข้าสำหรับผู้ใหญ่หัวละ 20 ดอลลาร์ ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 7 ขวบเข้าฟรี ซึ่งถือว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เสียเงินเข้าชมแห่งล่าสุดในวอชิงตัน ในขณะที่หลายๆ พิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจในเมืองหลวงของสหรัฐแห่งนี้เปิดให้ผู้คนเข้าดูกันฟรีๆ !!ภายในนิวเซียมจะมีโรงหนัง 15 โรง ห้องแสดงภาพขนาดใหญ่อีก 14 ห้อง และห้องส่งอีก 2 ห้อง นอกจากนี้ยังมีตู้คีออสก์สำหรับให้ผู้เข้าชมได้สวมบทบาทการเป็นนักข่าวได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นช่างภาพ บรรณาธิการ ผู้สื่อข่าวหรือผู้ประกาศข่าวชาร์ลส์ แอล.โอเวอร์บี ผู้บริหารของนิวเซียม กล่าวว่า เป้าหมายของการสร้างพิพิธภัณฑ์นี้ขึ้นมาก็เพื่อต้องการให้ผู้คนได้เรียนรู้เกี่ยวกับเสรีภาพของสื่อ รวมทั้งสร้างความสนุกสนานและเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนที่มาเข้าชมได้เข้าถึงคำว่า สื่อสารมวลชน อย่างแท้จริง


The Newseum will open its $450 million, seven-level museum in downtown D.C. on April 11.


The opening date originally was scheduled for Oct. 15, 2007, but was pushed back because construction took longer than expected.


The museum, at Pennsylvania Avenue and Sixth Street NW, will offer free admission on opening day, which will include a live broadcast on ABC's "Good Morning America." Special activities will take place throughout opening weekend.


More than six years in the planning, the Newseum features 14 galleries that tell the story of news, as well as a 40-by-22-foot high-definition media screen where breaking news, historic news events and documentaries will be shown.


The building includes a conference center, museum store and more than 140,000 square feet of residential apartments, as well as The Source, a restaurant by celebrity chef Wolfgang Puck.


After opening day, admission to the museum will cost $20 for adults, $18 for seniors and $13 for youths 7 to 12.

คลิกเลยคาฟ "Newseum Sets Opening Date" ขอบคุณ

วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1


สิ้นสุดยุค"หนังสือพิมพ์"กระดาษ?

ทั้งนี้นิวยอร์กไทมส์ยังได้ตกลงเป็นหนึ่งในพันธมิตรรายแรกๆ ที่จะเผยแพร่สิ่งพิมพ์ของตนเองบนเครื่องอ่านอีบุ๊กรุ่นใหม่ของ Amazon ด้วย ซึ่งในเวลาไล่เรี่ยกัน หนังสือพิมพ์วอลสตรีทเจอนัลก็ได้เผยแพร่ข่าวของคู่แข่ง และจุดอ่อนของเครื่องอ่านอีบุ๊กของ Amazon นั่นหมายความว่า มันจะมีอุปกรณ์ประเภทนี้ออกมามากมาย ทำให้หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น และช่วยให้อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ข่าวสารสามารถยืนหยัดต่อไปได้

เครื่องอ่านอิเล็กทรอนิกส์เป็นสิ่งที่บรรดาหนังสือพิมพ์ทราบดีว่า อย่างไรก็ต้องเดินต่อไปในทางนี้ เนื่องจากกระดาษไม่ใช่คำตอบสำหรับการดำเนินธุรกิจ แม้ผู้คนส่วนใหญ่จะชอบการพลิกหน้าหนังสือที่เป็นกระดาษก็ตาม ในขณะที่โลกออนไลน์ มันเป็นเรื่องของโฆษณา แต่สำนักพิมพ์ส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการมีรายได้จากสมาชิกด้วย ดังนั้น เครื่องอ่านอีบุ๊กอย่าง Kindle จะตอบโจทย์การรับสมัครสมาชิกหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ดีกว่าออนไลน์ ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่เคยคิดว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายสำหรับการอ่านคอนเท็นต์บนนั้น และจะรู้สึกไม่พอใจที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อจะได้อ่านแมกะซีนออนไลน์

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญในวงการบางท่านแสดงความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า มันอาจจะเร็วเกินไป หรือไม่ที่จะเปลียนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคด้วยอุปกรณ์พาพาดังกล่าว เพราะความจริง Kindle เป็นเครื่องอ่านอีบุ๊กที่ออกมาขัดตาทัพเทคโนโลยีอีเปเปอร์แบบม้วนได้ ซึ่งให้ความสะดวกในการพกพามากกว่า ในขณะเดียวกันยังใกล้เคียงกับสื่อแบบเดิมอีกด้วย แต่ถ้าจะรอให้ถึงวันนั้น บางทีมันอาจจะสายเกินไป งานนี้คงต้องรอดูว่า ความหวังของบรรดาหนังสือพิมพ์จะเป็นจริง หรือไม่? ผู้บริโภคจะยอมรับกับอุปกรณ์พกพาที่ออกมาทดแทนความคุ้นเคยเดิมๆ ได้ หรือเปล่า?

Update: ล่าสุดมีการอ้างว่า ภาพถ่ายข้างล่างนี้เป็นพรีเซนเทชั่นของ Amazon Kindle DX เครื่องอ่านอีบุ๊กรุ่นใหม่ที่มีหน้าจอใหญ่ 9.7 นิ้ว (Kindle 2 จะมีขนาดหน้าจอแค่ 6 นิ้วเท่านั้น) เหมาะกับการอ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ตลอดจนหนังสือตำราเรียน